เชื่อมต่อผ่าน Bluetooth และ Airplay ต่างกันยังไง

26 ต.ค. 2561

เชื่อมต่อผ่าน Bluetooth และ Airplay ต่างกันยังไง

โลกทุกวันนี้ความคล่องตัวเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากในการทำงานหรือใช้ชิวิตประจำวัน เพราะจังหวะการทำงานของคนรุ่นใหม่ได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงกับสมัยก่อน โดยที่ตอนนี้ ความยืดหยุ่นในสถานที่การทำงาน และ ความรวดเร็วเป็นที่ต้องการมากยิ่งขึ้น เลยไม่เป็นที่น่าแปลกใจที่ สัญญาณอินเตอร์เนทไร้สาย เช่น  Wi-Fi และ อีกมากมายจะเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย วันนี้เราจะหยิบยก 2 สัญญาณไร้สายที่หลายคนทราบดี แต่อาจจะยังมีความสับสนอยู่บ้างว่าต่างกันยังไง นั่นก็คือ Bluetooth และ Airplay ทั้ง 2 สัญญาณนี้เป็น เทคโนโลยีการเชื่อมต่อภาพและเสียงแบบไร้สายเช่น การเชื่อมต่อลำโพง เข้ากับเครื่องเล่นเพลงอย่าง Ipod หรือ Android เป็นต้น  วันนี้เราจะมาจำแนกข้อแตกต่างระหว่างการเชื่อมต่อด้วยสัญญาณ Bluetooth และ Airplay ว่ามีอะไรบ้าง และ แบบไหนเหมาะกับการใช้งานในจุดประสงค์ใด

เริ่มต้นกันที่สัญญาณ Bluetooth

Bluetooth เป็น สัญญาณอินเตอร์เนทไร้สายรุ่นบุกเบิกที่มีให้เราใช้กันมานานแล้ว เป็นสัญญาณที่เปิดกว้าง เพราะ ทั้ง Apple และ Android สามารถ รองรับสัญญาณได้หมด เป็นคลื่นความถี่ ที่ 2.4 GHz ซึ่งมีระยะการทำงานที่สั้นมาก ดังนั้น ระยะห่างของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกันไม่ควรห่างกันจนเกินไป เพื่อคุณภาพที่ดีที่สุด ไม่ควรเกิน 6 เมตร แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ความสามารถในการรับส่งความเร็วยังช้าอยู่ อาจจะไม่ทันใจใครหลายๆคนที่อยากได้การทำงานแบบรวดเร็ว เป็นพิเศษ เพราะ จุประสงค์หลักคือ เพื่อลดการใช้พื้นที่จากสายไฟ ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ 2 ตัวเข้าหากัน เช่น ลำโพง กับ มือถือ ดังนั้น การส่งข้อมูลที่ใหญ่ขึ้น เช่น การถ่ายโอนไฟล์ จาก PC 2 เครื่อง มาทำระบบ Network จะทำได้ยากและใช้เวลาพอ สมควร  ข้อดีของสัญญาณชนิดนี้คือการเชื่อมต่อ ทำได้ไม่ยากเพียงแค่เปิดสัญญาณ แล้วนำอุปกรณ์ ทั้ง 2 ชนิด มาจับคู่เข้าด้วยกัน เท่านั้น และ ราคาต้นทุนถูกกว่า เนื่องจาก เป็นเทคโนโลยีที่ไม่มีลิขสิทธิ์ ทุกค่ายสามารถ ใช้ร่วมกันได้

มาดูการเชื่อมต่อ Airplay กันบ้าง

สำหรับ สัญญาณ Airplay นั้น เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาจาก บริษัท Apple ที่เปิดตัวมาพร้อมกับ iOS4 ที่ให้การส่งสัญญาณแบบไร้สายง่ายขึ้นเพียงแค่แตะปุ่มเดียว ก็สามารถส่งต่อสัญญาณระหว่างอุปกรณ์ที่อยู่ใน เน็ทเวิร์คเดียวกันได้อีกทั้งยังสามารถส่งสัญญาณภาพและเสียงไปยัง Apple TV และ อุปกรณ์เสียงอื่นๆที่รองรับ เทคโนโลยีนี้ เนื่องจากทำงานคู่กับ สัญญาณ Wi-Fi จึงทำให้การทำงานด้วยสัญญาณชนิดนี้มีระยะที่ไกล และ เสถียรกว่าการใช้ Bluetooth รวมถึงให้คุณภาพของเสียงในระดับ High-Quality AAC ซึ่งละเอียดกว่า MP3 และสามารถ ปรับระดับความดังในแต่ละลำโพงได้จาก iTune ได้โดยตรง มาถึงตรงนี้เหมือนกับว่า เทคโนโลยีนี้แทบจะไร้ที่ติ แต่ทุกอย่างย่อมมีจุดอ่อน สัญญาณไร้สายแบบ Airplay นี้มีข้อจำกัดที่ใช้ได้กับแค่อุปกรณ์เชื่อมต่อ ของ Apple เท่านั้น ซึ่งราคาไม่น้อยเลยและยังมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น ค่าลิขสิทธิ์ ซึ่งอาจสูงถึง 3,000 บาท ต่ออุปกรณ์เลยทีเดียว

จากข้อมูลดังกล่าวสามารถสรุปได้ว่า ทั้ง 2 สัญญาณนั้นมีประโยชน์ทั้งคู่แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการใช้งาน ถ้าหากต้องการเชื่อมต่อ อุปกรณ์เล็กๆ ที่ความเร็ว และ ระยะทางไม่ได้เป็นปัจจัยหลัก รวมถึงประหยัดค่าใช้จ่าย Bluetooth ก็ตอบโจทย์ได้ดี แต่ถ้า คำนึงถึงเรื่องความเร็ว ความเสถียร ระยะทางห่างของอุปกรณ์ คุณภาพของเสียงและ มีความสามารถในการจ่าย Airplay ก็เป็นตัวเลือกที่แนะนำ ในส่วนของข้อจำกัดที่ทั้งคู่มีเหมือนกันก็คือ การรับขส่ง สัญญาณที่สามารถทำได้ระหว่าง 2 อุปกรณ์เท่านั้น ดังนั้นหากจะนำไปเชื่อมต่อกับ อุปกรณ์อื่นๆ จำเป็นต้องตัดสัญญาณจาก อุปกรณ์ก่อนหน้า แล้วต่อสัญญาณใหม่ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความล่าช้าได้

best-seller-ads
article-banner-1
article-banner-2