ความเชื่อผิดๆในการซื้อหูฟัง สำหรับมือใหม่

17 ส.ค. 2560

ความเชื่อผิดๆในการซื้อหูฟัง สำหรับมือใหม่

ในปัจจุบัน แม้ว่าเทคโนโลยีจะก้าวหน้าไปไกล แต่บางครั้งก็ยังมีความเข้าใจในเทคโนโลยีที่ผิดหรือไม่ถูกต้อง ซึ่งความไม่ถูกต้องเหล่านี้เกิดขึ้นจากความไม่เข้าใจ และ คิดไปเองซะส่วนใหญ่ มีคำกล่าวที่ว่า ความเชื่อเป็นสิ่งที่เปลี่ยนยาก แต่สามารถเข้าใจได้ง่าย ในบทความนี้ Mercular.com มีความยินดีที่จะไขข้อข้องใจเกี่ยวกับความเชื่อต่างๆ นาๆในการซื้อหูฟังแต่ละตัว ซึ่งแต่ละคนก็มีความคิดที่แตกต่างกันออกไป โดยจะมีทั้งถูกและผิดปะปนกันไป มาดูกันว่าจะมีความเชื่อแบบไหนบ้างที่ควรมองมุมกลับแล้วปรับมุมมองใหม่

หูฟังแบบไหนก็เหมือนกัน

ความเชื่อที่ 1: ซื้อหูฟังแบบไหน ก็เหมือนกันแหละ แค่ฟังเพลงได้ก็พอโดยปกติแล้ว หูฟังจะมีหลักๆด้วยกัน 4 ประเภท คือหูฟังแบบ In-Ear, Earbud, On-Ear, Over-Ear ซึ่งแต่ละชนิดจะมีความโดดเด่นไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับสเปคของหูฟังด้วย ดังนั้นการซื้อหูฟังควรเลือกชนิดให้เหมาะสมกับการใช้งาน/ความถนัดของตนเอง ส่วนในเรื่องของเสียงเก็บไว้เลือกตามแบรนด์ ตามรุ่น อีกที สำหรับคนทั่วไปที่กำลังเลือกซื้อหูฟังแล้วบอกกับตัวเองว่า หูฟังแบบไหนก็เหมือนกัน ต้องมองใหม่แล้วถามตัวเองว่า เราเหมาะกับหูฟังประเภทไหน ครับ อ่านเพิ่มเติม: ประเภทของหูฟัง

แบรนด์ดังต้องเสียงดี

ความเชื่อที่ 2: แกๆ แบรนด์นี้เค้าใช้กันเยอะ เสียงดีแน่นอน อีกหนึ่งความเข้าใจที่ก็ไม่เชิงผิด แต่ก็ไม่ถูกต้องเสมอไป เพราะการที่แบรนด์ๆหนึ่งเป็นที่นิยมสูง ต้องบอกเลยว่าส่วนหนึ่งอาจมาจาก การตลาดที่เข้มแข็ง ดังนั้นแล้วความนิยมในตัวแบรนด์ อาจไม่ได้มาจาก เสียง เป็นหลักครับ อีกทั้งยังมีแบรนด์อื่นๆที่ไม่ได้เป็นที่นิยม แต่ให้คุณภาพเสียงที่ดี ชนิดที่ว่ามือใหม่อย่างเราๆยังไม่รู้จัก แต่ในวงการได้รับความนิยมเป็นจำนวนมาก ดังนั้นผู้อ่านที่กำลังจะเข้าสู่วงการหูฟัง ลำโพง เครื่องเสียง ควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียดถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจซื้อ โดยต้องลืมความคิดที่ว่า แบรนด์ดังต้องเสียงดี หากค้นหาข้อมูลแล้วยังไม่ชัวร์ ลองถามเพื่อนๆหรือคนใกล้ตัวดูครับ แต่ถ้าจะให้แน่ใจสุดๆทักมาปรึกษาทาง Mercular.com ได้เลยครับ เราจะทำให้คุณ ช้อปง่ายๆ อย่างรู้จริง แน่นอน

หูฟังยิ่งแพง เสียงยิ่งดี

ความเชื่อที่ 3: หูฟังตัวนี้แพง เสียงน่าจะดีเนอะ หลายๆท่านตกม้าตายกับหูฟังราคาแพง แต่เสียงแสนธรรมด๊าธรรมดามาแล้วครับ ความเชื่อนี้ค่อนข้างคล้ายกับแบรนด์ดังต้องเสียงดี แต่ก็ใกล้เคียงความถูกต้องขึ้นมานิดหน่อย คือส่วนใหญ่หูฟังราคาแพงมักจะขายชื่อเสียงของแบรนด์เป็นหลัก แต่ก็มีหูฟังหลายแบรนด์ที่แพงเพราะวัสดุ หรือ งานประกอบภายใน เช่น ตัวไดร์เวอร์ หรือ แผ่นไดอะเฟรม เป็นต้น ดังนั้นแล้ว สิ่งสำคัญในการซื้อหูฟังจึงไม่ใช่แค่ราคาอีกต่อไป ควรใส่ใจรายละเอียดปลีกย่อยในมุมของสเปคของหูฟังที่สนใจอีกด้วยครับ

ไม่จำเป็นต้องดู Spec ให้ละเอียด

ความเชื่อที่ 4: ซื้อๆไปเถอะ ไม่ต้องไปดูสเปคมากหรอก ดูไปก็ไม่เข้าใจ ข้อนี้ต่อจากข้อที่แล้วเลยครับ หลายคนมองข้ามเพราะไม่รู้ว่าต้องดู Spec ของหูฟังยังไง และต้องดูด้านไหนบ้าง ก็เลยข้ามๆไป สุดท้ายก็มานึกเสียใจทีหลัง เพราะเสียงที่ได้ ไม่ถูกใจเอาเสียเลย โดยหลักๆที่ข้างกล่องส่วนใหญ่มักจะมีคือข้อมูลด้านเทคนิค และ ฟังก์ชันการใช้งาน โดยข้อมูลด้านเทคนิคจะเกี่ยวของกับงานประกอบเช่น ไดร์เวอร์ขนาดเท่าไหร่ ตอบสนองความถี่ได้เท่าไหน เป็นต้น ตรงนี้หากใครที่เข้าใจจะรู้ว่าหูฟังตัวไหน ต้องใช้ Dac-Amp ช่วยในการขับเสียงออกมา (สำหรับผู้ที่ชำนาญแล้ว) แต่สำหรับมือใหม่ให้โฟกัสไปที่ข้อมูลด้านฟังก์ชันอย่างเช่นเชื่อมต่อ Bluetooth เวอร์ชั่นไหน ใช้งานอย่างไร และรองรับอุปกรณ์ไหม เป็นต้นครับ บางท่านซื้อหูฟังแล้วไม่สามารถใช้กับอุปกรณ์ของ Apple ได้ รู้ตัวอีกทีก็ต้องจำใจใช้งานไปแล้วละครับ แต่ถ้าซื้อออนไลน์จะดูยังไงละ? ง่ายมากเลยครับเพียงแค่ถามทางร้านดูอย่าง Mercular.com ของเราก็ยินดีให้คำตอบลูกค้า พร้อมบริการด้วยใจเกินร้อย แน่นอน อิอิ

Bluetooth APT-X คุณภาพเสียงดีที่สุด

Bluetooth Aptx

ความเชื่อที่ 5: Bluetooth apt-X คือที่สุดของเสียง หลายๆท่านเองเห็นสัญลักษณ์ apt-X ปุ๊ป รีบตัดสินใจซื้อปั๊ป งานนี้ต้องบอกว่าดูที่ตัวหูฟังอย่างเดียวคงไม่พอ เพราะว่าสิ่งสำคัญที่สุดคืออุปกรณ์ที่เชื่อมต่อด้วยนั่นเอง หากหูฟังรองรับ Bluetooth apt-X แต่สมาร์ทโฟนไม่รองรับก็เท่ากับว่าการเชื่อมต่อก็จะเท่ากับที่สมาร์ทโฟนส่งได้ เช่นหูฟังรองรับ Bluetooth 4.0 apt-X แต่สมาร์ทโฟนรองรับ Bluetooth 2.0 เท่ากับว่าสัญญาณที่สมาร์ทโฟนจะส่งออกไปมีความแรงแค่ Bluetooth 2.0 เท่านั้น ทำให้ฟังก์ชั่นของ Bluetooth 4.0 apt-X ของหูฟังไม่ถูกใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพครับ อ่านเพิ่มเติมเรื่อง Bluetooth apt-X ที่นี่

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ สำหรับบทความนี้ มีความเชื่อไหนบ้างที่คุณผู้อ่านเคยคิดแบบเดียวกันบ้าง หรือว่ามีความเชื่อแบบไหนอีกที่ไม่ได้ถูกกล่าวในบทความนี้ สามารถแชร์ความคิดเห็นได้ที่หน้า Facebook ของเราเลยนะครับ สุดท้ายนี้ถ้าหากชอบบทความอย่าลืมกดแชร์ไปให้เพื่อนๆอ่านกันนะครับ

best-seller-ads
article-banner-1
article-banner-2