การดูแลหูฟังออกกำลังกาย

20 ก.พ. 2560

การดูแลหูฟังออกกำลังกาย

หูฟังออกกำลังกาย เป็นหูฟังที่ถูกใช้งานอย่างสมบุกสมบัน ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังการกลางแจ้งที่ต้องตากแดด ตากฝน หรือโดนเหงื่อซึ่งมีความเป็นกรดสูง ถึงแม้ว่าหูฟังประเภทนี้จะออกแบบมาให้ ทนทานต่อสภาวะดังกล่าวแล้ว แต่หากไม่ดูแลรักษาหรือใช้งานให้ถูกวิธี ก็ยังคง เสียหายได้ ซึ่งลูกค้าที่ซื้อหูฟังออกกำลังกายจากทางเราไปได้สอบถามถึงวิธีการดูแลรักษาเข้ามาอย่างมาก ทางทีมงานของ Mercular.com จึงได้จัดทำเกร็ดความรู้สำหรับการดูแลรักษาหูฟังออกกำลังกาย ให้เราใช้งานได้นานๆออกมาครับ

1. อย่าลืมเช็ดก่อนเก็บ**

ดูแลหูฟัง

หลักจากออกกำลังกายเสร็จจะมีคราบเหงื่อ และคราบสกปรกติดอยู่ที่ตัวหูฟังเป็นจำนวนมาก ถ้าปล่อยไว้ เหงื่อที่มีความเป็นกรดจะค่อยๆกัดหูฟังของเรา หรือแม้กระทั่งน้ำอาจจะไหลเข้ารูหูฟังแล้วทำให้เกิดความเสียหายได้ ดังนั้นเมื่อออกกำลังกายเสร็จทุกครั้ง จึงควรใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ เช็คทำความสะอาดตัวหูฟัง เพื่อทำความสะอาดและเอาเหงื่อออก หลังจากนั้นให้ใช้ผ้าแห้งเช็ดตามอีกที แล้วค่อยเก็บหูฟัง

**ข้อนี้เป็นข้อที่สำคัญมากและควรทำอย่างเคร่งครัดนะครับ เนื่องจากมีหูฟังออกกำลังกายที่ส่งเคลมหรือเสียหาย เพราะสาเหตุนี้เยอะมากครับ

2. ใช้จุกให้ถูกต้อง

ดูแลหูฟัง

หูฟังออกกำลังกายบางชนิดเช่น Sony NW-WS413 หรือ NWZ-WS615 สามารถที่จะ ใส่ว่ายน้ำได้เพียงแต่เราจะต้อง เปลี่ยนเป็นจุกให้ถูกต้อง โดยจุกสำหรับว่ายน้ำ จะมีเยื่อกันไม่ให้น้ำเข้าเครื่อง ซึ่งมีคนจำนวนไม่น้อยเลยที่ลืมเปลี่ยนจุก ทำให้น้ำเข้าเครื่องและเกิดการเสียหายได้

3. จับที่ขั้วตอนถอด

ดูแลหูฟัง

สำหรับผู้ที่ใช้หูฟังออกกำลังกายแบบมีสาย ขณะถอดหูฟัง ให้จับที่ขั้วแล้วดึงออก อย่าดึงที่สายเพราะจะทำให้เกิดปัญหาสายขาดในที่ทำให้เสียงมีปัญหาได้

4. เบาเสียงลงบ้าง

ดูแลหูฟัง

โดยส่วนใหญ่ในระหว่างการออกกำลังกาย คนทั่วไปมักจะเร่งเสียงให้ดังขึ้นเพื่อให้ออกกำลังกายได้นานขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าการฟังเพลงที่ดังเกินไปนอกจากจะส่งผลเสียงต่อหูฟังแล้ว ยังอันตรายต่อหูของเราด้วยเช่นกัน ดังนั้นควรฟังในความดังที่พอเหมาะ ไม่ดังเกินไปต่อเนื่องเป็นเวลานาน

5. เก็บหูฟังใส่กล่องหรือกระเป๋า

ดูแลหูฟัง

ควรหากล่องหรือกระเป๋าสำหรับเก็บหูฟังโดยเฉพาะ เพราะหากวางไว้แล้วโดนของกดหรือทับ ไม่จะเป็นแรงกดทับเพียงเล็กน้อยแต่หากโดนบ่อยๆ หรือเป็นระยะเวลานาน ก็ทำให้หูฟังเสียหายได้เช่นกัน

6. เก็บหูฟังให้เป็นระเบียบ

ดูแลหูฟัง

การที่เราเก็บสายหูฟังไม่เป็นระเบียบ อาจจะทำให้เกิดสายพันกันเป็นปมได้ ซึ่งหากเป็นหลายๆครั้งก็มีโอกาสที่จะทำให้สายขาดในได้เช่นกัน โดยวิธีการพันสายหูฟังนั้นหากเป็นหูฟังพกพาให้เอาสายพันรอบนิ้วเรา 3 นิ้ว (นิ้วชี้, นิ้วกลาง, นิ้วนาง) โดยพยายามพันให้เป็นลักษณะวงกลมมากที่สุด อย่าหักหรือพับสายมาก เพราะจะทำให้สายขาดในได้

7. ลดเบสลงหน่อย

เสียงเบสเป็นเสียงที่ทำร้ายหูฟังได้มากที่สุด การที่เราใช้ฟังก์ชันต่างๆ อย่าง Bass Boost เพื่อเร่งย่านความถี่ต่ำมากเกินไป ถึงแม้ว่าจะมีหูฟังสำหรับเบส แต่ถ้าเราเร่งมากเกินจนหูฟังจะรับได้ ก็เสียหายได้เหมือนกัน

8. หลีกเลี่ยงเก็บหูฟังในที่ร้อนและชื้น

ดูแลหูฟัง

ถึงแม้หูฟังจะออกแบบมาให้ทนความร้อนและชื้น แต่มันก็สามารถทดได้ บางส่วนถ้าโดนต่อเนื่องเป็นเวลานานก็สามารถ เสียหายได้เหมือนกันครับ ดังนั้นอย่าเก็บหูฟังในที่ร้อนหรือชื้น เนื่องจากจะทำให้หูฟังเสื่อมสภาพและมีอายุการใช้งานสั้นลงในระยะยาวได้

เป็นยังไงกันบ้างครับสำหรับวิธีการดูแลหูฟังออกกำลังกาย ให้เราใช้งานได้นานๆ ทางทีมงาน Mercular.com หวังว่าบทความวิธีนี้จะเป็นประโยชน์กับเหล่าคนรักสุขภาพไม่มากก็น้อย สำหรับใครที่มีทริคเด็ดๆ เพิ่มเติมในเรื่องของการดูแลรักษาหูฟังออกกำลังกาย หรือการใช้งานก็มาแชร์กันได้เลยครับ

best-seller-ads
article-banner-1
article-banner-2