รู้หรือไม่? ฟังเพลงดังเกินไประวังปวดหู

4 ก.ค. 2561

รู้หรือไม่? ฟังเพลงดังเกินไประวังปวดหู

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าทุกวันนี้เราสามารถเข้าถึงการฟังเพลงได้ทุกที่ ทุกเวลา ไม่ว่าจะเป็นระหว่างเดินทาง ระหว่างทำงาน ระหว่างออกกำลังกาย หรือระหว่างทำกิจกรรมยามว่างต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัยรุ่นที่นิยมฟังเพลงกันมาก เพลงเป็นได้ว่าสื่อกลางที่ทำให้วัยรุ่นได้มีปฏิสัมพันธ์กับสังคม เพื่อน หรือแม้แต่กับตัวเอง ยิ่งฟังเพลงดังมากเท่าไหร่ยิ่งเข้าถึงอารมณ์ได้มากเท่านั้น แต่ทราบหรือไม่ว่าถ้าเราฟังเพลงดังติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจส่งผลกระทบต่อหูของเราเช่น อาการปวดหู หูอื้อ หรือในกรณีที่ร้ายแรงกว่านั้นอาจทำให้คุณกลายเป็นคน “หูตึง” ได้อย่างไม่ทันตั้งตัว

ใส่หูฟังแล้วเจ็บหู เพราะฟังเพลงดังเกินไปรึป่าว?


  • สัญญาณเตือนภัยของอาการปวดหู
  • ฟังเพลงอย่างไรให้ปลอดภัย


ใส่หูฟังแล้วเจ็บหู เกิดจาก

สัญญาณเตือนภัยของอาการปวดหู

เมื่อฟังเพลงดังๆ หรือฟังติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ เคยสังเกตกันหรือไม่ว่าเราจะได้ยินเสียง วิ้ง ๆ ในหู นั่นเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าระดับเสียงที่เรากำลังได้ยินนั้นเกินกว่าขีดความสามารถที่หูของเราจะรับได้ ซึ่งนั่นเป็นสัญญาณเตือนของอาการปวดหู หูตึงและหูหนวกที่จะตามมาจากการฟังเพลงดังเกินไป แต่หากเราถอดหูฟังแล้วแต่ยังได้ยินเสียง วิ๊ง ๆ ในหูอยู่ นั่นแสดงว่าเซลล์ประสาทได้รับการกระทบกระเทือนจากเสียง ดังนั้น เพื่อป้องกันปัญหาระบบการได้ยินควรสังเกตจากอาการดังนี้


  • เมื่อได้ยินเสียงวิ้ง ๆ ในหู ทั้งที่ไม่ได้เปิดเพลง หรือใช้หูฟัง
  • เริ่มได้ยินเสียงไม่ชัด มีอาการหูอื้อ จนทำให้เกิดปัญหาในการสื่อสาร
  • ปวดในช่องหูเมื่อได้ยินเสียงดัง


เชื่อว่าไม่มีใครที่อยากจะสูญเสียการได้ยินและเมื่อเป็นแล้วมักไม่มีโอกาสหายเป็นปกติได้ สิ่งที่จะช่วยป้องกันอาการเสื่อมของหูเราได้ดีที่สุด คือการรู้จักใช้ความพอดีและความเหมาะสมในการฟังเพลงในระดับเสียงที่เหมาะสม ฉะนั้น เมื่อมีอาการ ดังกล่าวข้างต้น ก็ควรหยุดการฟังเพลงหรือออกมาจากสถานที่ที่มีเสียงดัง และไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษาต่อไป


เจ็บหูจากการใส่หูฟัง

ฟังเพลงอย่างไรให้ปลอดภัย

ปกติแล้วหูของมนุษย์เรานั้นหากได้ยินเสียงที่ดังเกินกว่า 110 เดซิเบล ก็จะมีผลต่อเซลล์ประสาทหูทันที ยิ่งเป็นการฟังเพลงโดยใช้หูฟังซึ่งเป็นการได้ยินในระยะประชิดด้วยแล้วงก็ยิ่งส่งผลร้ายแรง หากฟังเพลงดังมาก ๆ และฟังเพลงติดต่อการเป็นระยะเวลานาน ๆ จะเกิดอาการหูดับจากเยื่อแก้วหูขาดได้ ดังนั้น เพื่อความปลอดภัย ในการใช้หูฟัง มีข้อแนะนำ ดังนี้


  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีเสียงดังติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ รวมทั้งหลีกเลี่ยงการใช้หูฟังฟังเพลงในที่ที่มีเสียงดัง
  • ไม่ควรเสียบหูฟังฟังเพลงตลอดเวลา แม้กระทั่งเวลาเข้านอน ฟังเฉพาะในช่วงเวลาที่ต้องการหรือฟังเป็นบางช่วง ปล่อยให้หูได้พักบ้าง จะได้ลดอัตราเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพหู
  • หลีกเลี่ยงการใช้หูฟังร่วมกับคนอื่น และหมั่นทำความสะอาดหูฟัง เพื่อป้องกันการสะสมของฝุ่นและเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ เช่น หนองในหู หรือการอักเสบในช่องหู


นอกจากนี้ทางองค์การอนามัยโลกแนะนำว่า ควรไม่ควรฟังเพลงดังจนเกินไปและควรซื้อหูฟังที่ตัดเสียงรบกวนจากภายนอก เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเร่งเสียงเพลงให้ดังขึ้นกว่าเดิม และทางที่ดีไม่ควรฟังเพลงที่สวมหูฟังนานเกิน 1 ชั่วโมง เพราะอาจส่งผลต่อประสาทการได้ยินถึงขั้นเสี่ยงต่อความพิการได้ แต่อย่างไรก็ตาม หากควบคุมการฟังเพลงให้อยู่ในเกณฑ์พอดี พอเหมาะ ทั้งระดับเสียงและระยะเวลา ก็จะไม่เกิดอันตรายแต่อย่างใด แต่ทั้งนี้ ควรหมั่นสังเกตตนเองหากปวดหู หรือหูมีอาการผิดปกติ ให้รีบพบแพทย์ โดยด่วน ด้วยความปรารถนาดีจากทีมงาน Mercular.com จ้า ท้ายที่สุดนี้การหันมากฟังเพลงผ่านลำโพงบลูทูธเองก็ช่วยได้เยอะเช่นกันครับ

best-seller-ads
article-banner-1
article-banner-2