การ์ดเสียง หรือ Soundcard คืออะไร?

5 ก.ย. 2561

การ์ดเสียง หรือ Soundcard คืออะไร?

หากพูดถึง การ์ดเสียง หรือ Soundcard เชื่อได้ว่าคนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงอุปกรณ์ที่เป็นไดร์เวอร์อย่างหนึ่งเวลาประกอบคอมพิวเตอร์ซึ่งจะทำหน้าที่ในการแจกแจงเกี่ยวกับเสียงต่าง ๆ ทั้งขับเสียงออก หรือรับเสียงเข้า ซึ่งถ้าเราไม่มีการ์ดเสียง หรือ Soundcard นี้แล้ว คอมพิวเตอร์ของเราก็คงไม่สามารถขับเสียงออกมาได้ ไม่ว่าจะเชื่อมต่อผ่านลำโพง หรือหูฟังเกมมิ่งก็ตามที ดังนั้นการ์ดเสียง หรือ Soundcard จึงถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่สำคัญดังนั้นวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับการ์ดเสียง หรือ Soundcard กันให้มากขึ้นไปอีกครับ

Soundcard ซื้อ

Soundcard คืออะไร?

การ์ดเสียง หรือ Soundcard คือแผงวงจรที่สร้างเสียงต่าง ๆ แล้วส่งไปยังลำโพง โดยปัจจุบันเทคโนโลยีของการ์ดเสียง (Sound Card) ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ในบ้านของเรากลายเป็นโฮมเธียเตอร์ได้เลยทีเดียว ด้วยเทคโนโลยีเสียง 3 มิติ หรือระบบเสียงรอบทิศทางนั้นจะมีหลายชื่อ เนื่องจากผู้ผลิตต่างก็ต้องการที่จะคิดค้นเทคโนโลยีที่เป็นของตัวเอง เช่น EAX ของ Creative เป็นต้น


รูปแบบของ Sound Card มีอะไรบ้าง ?


โดยทั่วไปที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ มี 2 แบบ คือ

  1. แบบออนบอร์ด (Sound On Board) เป็นระบบเสียงตามมาตรฐาน AC'97 หรือ IntelHigh Definition Audio อยู่ในรูปแบบของชิปเสียง ถูกติดตั้งไว้บนเมนบอร์ดเพื่อพร้อมสำหรับใช้งาน โดยไม่ต้องหาการ์ดเสียงมาใส่
  2. แบบตัวการ์ดเสียง (Sound Card) เป็นระบบเสียงที่ได้คุณภาพดีกว่าแบบออนบอร์ด แต่จะต้องซื้อการ์ดเสียง โดยมากใช้เสียบลงในช่องสล็อตแบบ PCI บนเมนบอร์ด
Soundcard ขาย

Soundcard มีกี่ประเภท?

ชนิดของการ์ดเสียง (Sound Card) แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ซึ่งสามารถแบ่งชนิดออกตามอดีตถึงปัจจุบัน ได้แก่


แบบ ISA


คือการ์ดเสียงแบบ Internal ซึ่งผลิตออกมานานแล้วจะใช้ร่วมกับเมนบอร์ดรุ่นเก่าที่มีสล็อต ISA ระบบเสียงยังไม่ได้คุณภาพ แต่ก็เป็นการ์ดเสียง ที่ได้รับการนิยมในสมัยอดีด แต่ในปัจจุบันการ์ดเสียงแบบ ISA ไม่มีแล้ว


แบบ PCI


คือการ์ดเสียงแบบ Internal เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากสามารถสังเคราะห์เสียงได้อย่างมีคุณภาพและมีราคาไม่แพงมากแต่ก็มีราคาแพงในบางรุ่น สามารถเลือกใช้ได้ตามความต้องการ


แบบ External


โดยปกติแล้วชนิดของการ์ดเสียงแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท แต่ที่จัด การ์ดเสียง (Sound Card) แบบ External ออกเป็นประเภทที่ 3 ก็เพราะว่าการ์ดเสียงแบบนี้เริ่มมีให้เห็นกันมากขึ้น อีกทั้งยังมีการติดตั้งที่แตกต่างจาก การ์ดเสียง ที่บอกมาข้างต้นด้วย โดยสามารถที่จะติดตั้งโดยผ่านทางพอร์ต USB ทำให้ในการใช้งานนั้นสามารถทำได้ง่ายยิ่งขึ้น

สรุปข้อดีและข้อเสียของการ์ดเสียง (Sound Card)

การ์ดเสียงแบบ Internal


ข้อดี : มีขนาดที่เล็ก น้ำหนักเบา มีพอร์ตเชื่อมต่อจำนวนมาก รองรับกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้หลายชนิด

ข้อเสีย : ได้รับอันตรายได้ง่าย เนื่องจากตัวของการ์ดเสียงมีลักษณะเปลือยเปล่า ขั้นตอนในการติดตั้งยุ่งยาก


การ์ดเสียงแบบ External


ข้อดี : ติดตั้งได้ง่าย มีรูปทรงสวยงาน และโดดเด่น สามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างสะดวกสบาย มีความทนทานค่อนข้างสูง

ข้อเสีย : มีราคาสูง ไม่ค่อยมีพอร์ตที่สนับสนุนพอร์ต Game Port หรือ พอร์ต MIDI

best-seller-ads
article-banner-1
article-banner-2