สาเหตุที่ทำให้ลำโพงคอมพิวเตอร์ ลำโพงบ้าน หรือลำโพงพกพาพังเร็ว

21 ก.ย. 2560

สาเหตุที่ทำให้ลำโพงคอมพิวเตอร์ ลำโพงบ้าน หรือลำโพงพกพาพังเร็ว

สำหรับใครที่มีลำโพงคอมพิวเตอร์ ลำโพงบ้าน หรือลำโพงพกพากันอยู่แล้ว คงจะรู้ดีกว่า อายุการใช้งานของลำโพงเหล่านี้มีอายุค่อนข้างนานมาก ประมาณ 4-5ปี เลยทีเดียว แต่ก็มีหลายท่านที่ลำโพงพังเร็วกว่าอายุการใช้งาน ดังนั้นในบทความนี้ทางเรา Mercular.com จะมาพูดถึงสาเหตุหลักๆที่ทำให้ลำโพงเสีย รวมถึงวิธีแก้ไขคร่าวๆกันครับ ว่าแต่จะมีสาเหตุไหนที่น่าสนใจบ้าง มาติดตามกันเลยครับ

ไฟบ้านกระชาก

เริ่มต้นกันที่ไฟกระชาก ส่วนมากเวลาที่เราเชื่อมต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ หรือลำโพง มักจะเสียบปลั๊กใช้งานยาวๆ ไม่ค่อยได้ถอดกันอยู่แล้วเป็นปรกติ แต่ในช่วงเวลาที่ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่าแรงๆ มักจะทำให้ไฟเกิน ไฟกระชาก หากโชคร้ายในบางครั้งกระแสไฟเหล่านั้นก็จะวิ่งเข้าสู่ตัวลำโพงผ่านปลั๊กที่เสียบกับไฟบ้านนั่นเอง ซึ่งในกรณีนี้สามารถแก้ไขได้โดยการถอดปลั๊กทุกครั้งหลังการใช้งาน หรือใช้ปลั๊กไฟคุณภาพที่รองรับการป้องกันไฟรั่ว ไฟเกิน หรือไฟกระชาก อย่าง Belkin เป็นต้นครับ

เปิดเสียงดัง/เบสหนัก

อีกหนึ่งสาเหตุที่หลายคนมองข้ามกันไปเยอะเลยทีเดียว ซึ่งกรณีนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพของลำโพงที่ใช้งานด้วยนะครับ หากเป็นลำโพงตัวเล็ก มีกำลังขับน้อย แล้วเราเปิดเสียงดัง จะทำให้ดอกลำโพงทำงานหนัก ข้อควรระวังที่สุดคือการต่อแอมป์เพิ่มในลำโพงขนาดเล็ก ซึ่งเคสนี้ทางเราเองก็เจอมากับตัวแล้ว กล่าวคือเสียงลำโพงดีขึ้นจริง แต่ใช้งานได้ไม่ยาว ดอกลำโพงแตก เสียงย่ำแย่มากครับ ดังนั้นการเปิดเสียงดังสามารถทำได้กับลำโพงที่มีแรงขับสูง ควรหลีกเลี่ยงลำโพงกำลังขับน้อย โดยเฉพาะลำโพงพกพาครับ

เสียบ/ถอด สายแจ๊คขณะเปิดลำโพง

สำหรับกรณีนี้หลายๆท่านเอง ก็มักจะเผลอลืมตัว อาจจะไม่ใช่สาเหตุใหญ่ที่ทำให้ลำโพงพัง แต่ต้องบอกเลยว่าระยะยาวนั้นไม่ใช่ผลดีกับลำโพงแน่นอนครับ โดยลักษณะของเหตุการณ์นี้เกิดจากการที่เราเปิดลำโพงไว้อยู่ แล้วทีนี้หยิบสาย AUX เข้าเสียบที่ลำโพง จะสังเกตได้ว่าจะมีเสียงเหมือนไฟช๊อต (ซึ่งหลายท่านมองว่าเป็นเรื่องปกติ) แต่สำหรับเรานั้น แนะนำให้ปิดลำโพงก่อน แล้วค่อยเสียบจะปลอดภัยกว่าครับ

ลำโพงมีความชื้น (น้ำเข้า)

มาถึงเคสนี้ที่ไม่อยากให้เกิดขึ้นเลยไม่ว่ากับใครก็ตาม ยิ่งช่วงหน้าฝนยิ่งต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดไม่ถูกกับน้ำเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ดังนั้นลำโพงเองก็เช่นกัน หากน้ำเข้าก็จะทำให้ไฟช๊อต งานนี้ต้องส่งซ่อมเคลมยาวๆกันเลยทีเดียว ทางแก้คือวางตำแหน่งลำโพงให้ไกลจากหน้าต่าง (ที่อาจโดนน้ำฝนกระเซ็นสาด) หรือพึงระวังแขกที่สัญจรไปมาในบ้าน ไม่ให้นำเครื่องดื่มวางไว้ใกล้ลำโพงนั่นเอง

อุณหภูมิห้องสูงเกินไป (ร้อน)

สำหรับอุณหภูมิห้องเองก็มีผลด้วยเช่นกันครับ โดยเฉพาะช่วงเที่ยงหากภายในห้องมีอุณหภูมิสูงไปตัวลำโพงร้อนตรงนี้ถ้าปล่อยไประยะยาวจะเป็นภัยต่อตัวดอกลำโพง รวมถึงสายสัญญาณเช่นกันครับ หากสายคุณภาพไม่ดีอาจจะได้เห็นการหลอมละลายขึ้นมาก็เป็นได้ ฮ่าๆๆ ส่วนตัวดอกลำโพงนั้น ถ้าร้อนมากๆอาจจะไม่เห็นผลอะไร แต่จะมีอาการเปื่อยหรือแข็ง และเมื่อใช้งานอาจทำให้เกิดการฉีกขาดครับ

ทำตกพื้น (ลำโพงพกพา)

ปิดท้ายด้วยเคสเบสิกทั่วไป อย่างใครที่ใช้ลำโพงพกพาพึงระมัดระวังการทำตกพื้นเป็นอย่างยิ่ง เพราะการที่ลำโพงตกพื้นสามารถสร้างความเสียหายได้มาก ถึงขนาดต้องเปลี่ยนตัวใหม่เลยทีเดียว แต่ใครที่ใช้ลำโพงตั้งโต๊ะตัวใหญ่ๆเองก็ใช่ว่าจะปลอดภัย ด้วยสายที่โยงไปโยงมานี่แหละจะทำให้เดินสะดุดสาย แล้วลำโพงหล่นลงมา ทางแก้คือการไลน์สายให้เป็นระเบียบ ถูกต้อง เรียบร้อย เพื่อความปลอดภัยครับผม

best-seller-ads
article-banner-1
article-banner-2