เซนเซอร์กล้องคืออะไร เลือกแบบไหนถึงจะใช่

7 ต.ค. 2564

เซนเซอร์กล้องคืออะไร เลือกแบบไหนถึงจะใช่

“เซนเซอร์ภาพ” ถือว่าเป็นชิ้นส่วนที่สำคัญที่สุดภายในกล้องดิจิตอล แผงวรจรและชิปต่างๆ ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนแสงกี่ได้รับมาให้กลายเป็นภาพที่เราถ่าย ซึ่งความสำคัญของมันนี้เอง ที่ทำให้หลายๆ คนรู้สึกงงงวย เมื่อเห็นชื่อเซ็นเซอร์กล้องแต่ละแบบที่ไม่เหมือนกันเลย หลายๆ คนก็เลือกไม่ถูกว่าเซ็นเซอร์แบบไหนมีดียังไง แล้วกล้องที่เราเลือกมันมีเซนเซอร์อะไร ใช้งานได้ดีรึเปล่า ส่งผลกับภาพขนาดไหน ในบทความนี้ เราจะพาทุกคนมาทำความเข้าใจกับเรื่องของเซนเซอร์กัน ตั้งแต่การทำงาน ประเภท และข้อดีข้อเสียของมัน ว่ามีอะไรบ้าง และส่งผลกับการใช้งานของเรายังไง จะได้ไม่งุนงน สับสนกันอีก

เซนเซอร์ภาพ คืออะไร

เซนเซอร์ภาพ (Image Sensor) หรือที่นิยมเรียกกันสั้นว่า “เซนเซอร์” เป็นชิปอิเล็กทรอนิกส์ประเภทหนึ่ง ที่ภายในจะประกอบไปด้วยเซลล์ไวแสงหลายล้านชิ้นที่มีชื่อเรียกว่า โฟโตไซต์ (Photosites) ที่จะทำหน้าทีจดจำแสงและสีต่างๆ ที่ตกกระทบลงมาจากเลนส์ แล้วแปลงข้อมูลที่ได้เป็นสัญญาณคอมพิวเตอร์ ส่งไปให้หน่วยประมวลผลของกล้องที่ทำหน้าที่รวบรวมและประมวลผลข้อมูลต่างๆ ออกมาเป็นภาพที่เราถ่ายออกมานั่นเอง ซึ่งขนาดของเซ็นเซอร์นั้นก็ส่งผลต่อจำนวนโฟโตไซต์ด้วย ยิ่งเซนเซอร์มีขนาดใหญ่ ภาพที่ได้ก็จะมีรายละเอียดต่างๆ มากขึ้น รวมถึงเรื่องของขอบเขตรายละเอียดภาพ (Dynamic Range) และความสว่างของภาพอีกด้วย

เซนเซอร์มีกี่ประเภท


ในปัจจุบันนีเรามีเซนเซอร์กล้องอยู่หลากหลายประเภท หลากหลายขนาดด้วยกัน แต่จะมีเซนเซอร์ที่มักนิยมใช้ในกล้องอยู่ 6 ประเภทหลักๆ ด้วยกัน ได้แก่ 



Micro Four Third


เป็นเซนเซอร์ที่มีเฉพาะในกล้องมิลเลอร์เลสเท่านั้น เป็นเซนเซอร์ขนาดประมาณ 17x13 มม. และนิยมใช้ในกล้องมิลเลอร์เลสแทบจะทุกระดับ โดยเฉพาะกล้องจาก Panasonic และ Olympus


Medium Format


เป็นเซนเซอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่เรายกขึ้นมา มีขนาดประมาณ 44x33 มม. ทำให้ภาพที่ได้นั้นมีความละเอียดที่สูงมาก แต่เซนเซอร์ประเภทนี้จะอยู่ในกล้องที่มีราคาที่สูงมาก และเป็นกล้องขนาดใหญ่ จึงไม่ค่อยพบเห็นได้บ่อยเท่าไหร่นัก


Full Frame


ถ้าใครเพิ่งเข้าวงการกล้องมาได้ไม่นานก็คงจะเคยได้ยินคำนี้กันบ่อยๆ ซึ่งที่มาของชื่อนี้ก็มาจากขนาดของเซนเซอร์ที่อ้างอิงมาจากขนาดของฟิล์ม 35 มม. ที่เป็นขนาดมาตรฐานในการถ่ายรูป (36x24 มม.) ซึ่งเราจะพบเซนเซอร์ประเภทนี้ได้ในกล้อง DSLR และกล้องมิลเลอร์เลสระดับสูง


APS-C


เป็นเซนเซอร์ที่มีขนาดรองลงมาจาก Full Frame ประมาณ 24x16 มม. เซนเซอร์ APS-C ถือเป็นเซนเซอร์ที่นิยมใช้การมากที่สุดในกล้อง DSLR และกล้องมิลเลอร์เลสระดับกลางบางตัว ถือว่าเป็นขนาดมาตรฐานของเซ็นเซอร์กล้องดิจิตอลในปัจจุบันก็ว่าได้


เซ็นเซอร์ 1 นิ้ว และ 1/2.3 นิ้ว


เซนเซอร์ทั้งสองแบบนี้ถือเป็นเซ็นเซอร์ที่เล็กที่สุดในตลาดกล้องทั่วๆ ไป โดยจะนิยมใช้ในกล้องขนาดเล็กอย่างกล้องคอมแพค และกล้องแอคชั่นแคม 

ข้อดีข้อเสียของเซนเซอร์แต่ละชนิด

สิ่งสำคัญที่ทำให้เซนเซอร์ของกล้องแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันนั่นก็คือเรื่องของ “ขนาด” ยิ่งกล้องที่มีเซนเซอร์ขนาดใหญ่จะให้ภาพสมคมชัด มีความละเอียดมากกว่าเซ็นเซอร์ที่เล็กกว่า รวมถึงเรื่องของควาวสว่างในภาพ ที่เซ็นเซอร์ขนาดใหญ่จะพื้นที่เก็บค่าแสงได้มากกว่า ทำให้ภาพนั้นดูสว่างกว่าเซนเซอร์อีกตัวทั้งมีการตั้งค่าเหมือนกันหมด รวมถึงจุด Noise ที่เกิดขึ้นจากปรับค่า ISO ที่สูง ที่เซนเซอร์ขนาดเล็กจะเห็นได้ชัดกว่าเซนเซอร์ขนาดใหญ่


และอีกสิ่งที่ส่งผลอย่างเห็นได้ชัดเลยก็คือความชัดตื้นชัดลึกของภาพ ที่กล้องเซนเซอร์ขนาดใหญ่จะทำให้ฉากหลังของภาพนั้นเบลอได้สวยงามกว่าเซนเซอร์ขนาดเล็กด้วย รวมถึงค่าขอบเขตความละเอียดหรือ Dynamic Range ที่สูงกว่าทำให้ภาพนั้นสามารถเก็บค่าแสงเงาได้อย่างครบถ้วน นี่จึงเป็นอีกเหตุหนึ่งว่าทำไมช่างภาพส่วนใหญ่ถึงอยากที่จะได้กล้องเซนเซอร์ระดับสูงๆ มาใช้กัน


แต่ใช่ว่าเซนเซอร์ใหญ่ๆ นั้นจะไม่มีข้อเสียเลย เพราะถ้าเกิดว่าเซนเซอร์ขนาดใหญ่มันดีจริงๆ แล้วทำไมเราถึงยังใช้กล้องเซนเซอร์ขนาดกลางๆ กันอยู่หล่ะ? นั่นเป็นเพราะว่าเซนเซอร์ขนาดใหญ่จะส่งผลต่อ “ราคา” และ “ขนาด” ยิ่งใช้เซนเซอร์ขนาดใหญ่ก็ยิ่งเพิ่มต้นทุนการผลิตเข้าไปอีก แถมกล้องยังต้องมีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อรองรับขนาดเซนเซอร์ด้วย เมื่อเทียบกับกล้องที่ใช้เซนเซอร์ขนาดเล็ก ที่ได้กล้องที่พกพาได้ง่าย ราคาถูกกว่า และมีคุณภาพไฟล์ที่เพียงพอต่อการใช้งานธรรมดาๆ นั่นจึงทำให้กล้องหลายๆ ตัวเลือกที่จะใช้เซนเซอร์ขนาดเล็กต่อ และอีกสิ่งหนึ่งที่กล้องเซนเซอร์เล็กจะได้เปรียบนั้น ก็คือค่าตัวคูณ หรือ Crop Factor นั่นเอง

Crop Factor และกล้องตัวคูณ คืออะไร


ค่าตัวคูณ หรือ Crop Factor คือค่าที่เกิดขึ้นเมื่อใช้งานกล้องที่มีเซ็นเซอร์ขนาดเล็กลง จะทำให้องศาภาพที่ได้นั้นแคบลง จนเหมือนกับว่าเราถ่ายเข้าไปได้ใกล้ขึ้น โดยมักจะนิยมเทียบกับกล้องเซนเซอร์ Full Frame และกล้องที่ใช้เซนเซอร์ขนาดรองลงมา เช่นหากเราถ่ายภาพด้วยกล้อง Full Frame และกล้อง APS-C ด้วยเลนส์ระยะ 50 มม. เท่ากัน แต่เซนเซอร์ APS-C มีระยะการคูณเพิ่มที่ 1.5 ภาพที่ได้จากกล้อง APS-C จึงดูแคบและใกล้กว่ากล้อง Full Frame จนเหมือนกับถ่ายด้วยเลนส์ที่มีระยะ 75 มม. ทั้งถ่ายดัวยเลนส์ระยะเดียวกัน ในตำแหน่งเดียวกัน ซึ่งเซนเซอร์แต่ละแบบก็จะมีระยะการคูณที่ต่างกันออกไป นี่จึงเป็นที่มาของการเรียกกล้องที่มีขนาดเล็กกว่ากล้อง Full Frame ว่า “กล้องตัวคูณ” นั่นเอง

วิธีการคำนวณค่าตัวคูณ คือ

ความยาวเส้นทะแยงมุมเซนเซอร์ Full Frame หารด้วยความยาวเส้นทะแยงมุมของเซนเซอร์ที่เราต้องการ

เช่น APS-C = 43/29 = 1.5 โดยประมาณ

เลือกเซนเซอร์ก็ต้องเลือกเลนส์ด้วย



หลายคนอาจจะเคยได้ยินว่าการเลือกเซนเซอร์นั้นจะเกี่ยวข้องกันการเลือกเลนส์ด้วย เพราะเลนส์บางตัวถูกออกแบบให้ใช้ร่วมกับเซ็นเซอร์บางประเภทเท่านั้น ซึ่งถ้าใช้ร่วมกันเซนเซอร์ที่เล็กกว่าก็จะไม่เจอปัญหาอะไร แต่ถ้าเอาเลนส์ที่ใช้กับเซนเซอร์ขนาดเล็ก มาใช้ร้วมกับเซนเซอร์ขนาดใหญ่ ก็จะทำให้ภาพนั้นติดของเงาดำบริเวณขอบรูป เพราะแสงจากเลนส์ส่องมาไม่ถึงขอบเซนเซอร์ ซึ่งแน่นอนว่าเลนส์ที่จะใช้ร่วมกับกล้องเซนเซอร์ใหญ่ๆ ก็ต้องมีขนาดที่ใหญ่ตามเพื่อรองรับเซนเซอร์ด้วย รวมถึงราคาที่สูงมากพอๆ กับขนาด จึงต้องเผื่อใจตรงนี้เอาไว้ด้วย

เลือกกล้องและเซนเซอร์แบบไหน ถึงจะดีกับเราที่สุด

พอมาถึงตรงนี้ หลายคนก็คงเข้าจะในเรื่องของเซนเซอร์มากขึ้น ว่าเซนเซอร์แต่ละแบบนั้นต่างก็มีข้อดีข้อเสียในตัวของมันเอง และสามารถตัดสินใจในการเลือกใช้กล้องได้ดียิ่งขึ้น เพราะเซนเซอร์ไม่ได้เกี่ยวข้องกับแค่คุณภาพรูปถ่ายเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีเรื่องราคาที่เราจ่ายไหว และขนาดของกล้องที่เราสะดวกจะพกพา หากเราเลือกกล้องที่ใช้เซนเซอร์ระดับสูง แต่กลับนำไปใช้งานได้ไม่เต็มที่ก็คงเสียเงินเปล่า ดังนั้น การเลือกใช้กล้องที่ตอบโจทย์เรานั้น อาจจะไม่ใช้กล้องที่สุดยอดที่สุดในตลาดก็ได้


ส่วนใครที่ยังคงมองหากล้องที่ตอบโจทย์ตนเองอยู่ละก็ เราแนะนำว่าให้ลองแวะเข้ามาดูสินค้าจาก Mercular.com ที่ตอนนี้เรามีสินค้าในหมวดหมู่ Drone & Camera ที่มีสินค้าทั้งกล้องถ่ายรูป โดรนบังคับ และอุปกรณ์เสริมต่างๆ ให้คุณได้เลือกซื้อกย่างหลากหลาย รับรองได้เลยว่ากล้องที่ตอบโจทย์ของคุณที่สุดนั้น กำลังรอคุณอยู่ >>>>ตามลิงค์นี้เลย<<<< สำหรับของเซนเซอร์กล้องก็คงหมดเพียงเท่านี้ คราวหน้าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไรนั้น รออ่านกันได้เลย

article-banner-1
article-banner-2