ซีพียู (CPU)
ตั้งค่าการค้นหา
Model
จำนวน Core/Thread
เทคโนโลยีการผลิต
แบรนด์
ซ็อกเก็ต
ซีพียู (CPU) คืออะไร
ใครที่มีคอมพิวเตอร์หรือกำลังมองหาคอมพิวเตอร์คงต้องเคยได้ยินคำว่า CPU กันบ้าง เพราะซีพียูเป็นส่วนประกอบหนึ่งของคอมพิวเตอร์ มีสเปกที่แตกต่างกันไปตามความต้องการใช้งานและงบประมาณ หากต้องการซื้อคอมพิวเตอร์สักตัว ผู้ใช้งานควรดูสเปก CPU เป็นส่วนแรกเลย ไม่ว่าจะซื้อคอมพิวเตอร์ไปทำงานทั่วไป พิมพ์เอกสาร เรียนออนไลน์ ทำงานกราฟิก รวมไปถึงเล่นเกม ไม่ว่าจะซื้อคอมพิวเตอร์ไปทำอะไร ก็จะส่งผลต่อการเลือกซื้อ CPU ด้วยเช่นกันครับ
ทำความรู้จักกับ CPU
แล้วเจ้าซีพียูมันอยู่ตรงไหนของคอมพิวเตอร์ละ มีช่วงหนึ่งที่คนมักเรียกเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะทั้งเครื่องว่า CPU แต่จริงๆแล้วเจ้า CPU คือชิ้นส่วนเล็กๆ ภายในที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดอีกที
หน้าที่ของมันคือเป็นหน่วยประมวลผลกลาง เปรียบเสมือนเป็นสมองของคอมพิวเตอร์ การประมวลผลทุกอย่างของคอมพิวเตอร์ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพ CPU ที่ผู้ใช้งานเลือกสเปกครับ ซีพียูจึงเป็นส่วนที่สำคัญมากของคอมพิวเตอร์ การก่อนตัดสินใจซื้อคอมพิวเตอร์ จึงต้องสำรวจความต้องการใช้งานคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานให้ดีก่อนทำการเลือกสเปกครับ
ประวัติความเป็นมาของ CPU
แม้เราจะเรียก CPU กันอยากติดปาก แต่ทราบหรือไม่ว่าชื่อเต็มๆ ของมันคือ Central Processing Unit โดยเริ่มแรกไม่ได้มี 2 เจ้าที่แข่งขันกันอย่างดุเดือนอย่างในปัจจุบันนะครับ ต้องบอกว่าเจ้าแรกที่ทำเรื่องหน่วยประมวลผลกลางแบบนี้คือ intel ที่ทำซิปประมวลผลออกมาตัวแรกเพื่อใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์จากบริษัท IBM มี Core เดียวหรือเรียกว่า Single -Core สามารถประมวลผลได้ทีละ 8 บิต มีชุดคำสั่ง 76 คำสั่นเท่านั้น
จากนั้นได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องและยุคสมัยที่เทคโนโลยีก้าวหน้าจนมาถึงปัจจุบันที่ซีพียูมีประสิทธิภาพมากกว่าเมื่อก่อนมาก ทั้งขนาดที่เล็กลง จำนวน Core ที่มากขึ้น แต่ใช้พลังงานน้อยลงครับ
Core Thread ของ CPU มีหลักการทำงานอย่างไร
มาถึงตรงนี้แล้ว หลายคนที่กำลังมองหาซื้อคอมพิวเตอร์และกำลังเลือกสเปกกันคงเคยเห็น CPU ที่มีตัวเลขจำนวน Core และ Thread ต่อท้าย แล้วจำนวนพวกนี้มันมีผลต่อการเลือกซีพียูของเราอย่างไร
Core
ถึงเราจะเปรียบ CPU คือสมองในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ แล้วอะไรคือ สมองของ CPU กันล่ะ เจ้า Core นี่แหละครับคือสมองของซีพียู เมื่อก่อนจะมี Core เดียว หรือมีสมองแค่ก้อนเดียวที่เราเรียกกันว่า Single-Core พอมีแค่ก้อนเดียวการรับเข้าและประมวลผลคำสั่งก็จะดำเนินการผ่านสมองแค่อันเดียวครับ
แต่หลายหัวมักย่อมดีกว่าหัวเดียว ในปัจจุบันที่เทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้นทำให้สามารถอัดสมองเข้าไปใน CPU ได้หลายก้อนมากขึ้นจนเกิดเป็น Muti-Core มีตั้งแต่ 2 – 32 Core เลยทีเดียว ยิ่งเยอะก็ยิ่งแรง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องพิจารณาจากสถาปัตยกรรมภายใน Core และโปรแกรมที่ใช้งานด้วย บางโปรแกรมหรือบางเกมอาจทำงานได้ในจำนวน Core ที่กำหนดไว้ นั่นทำให้ถึงแม้มีหลาย Core ก็ไม่ได้ทำให้แรงขึ้นแต่อย่างใดครับ
Thread
Thread เปรียบเสมือนการจำลองจำนวน Core ของซีพียูให้เพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น สเปก CPU มี 4 Core 8 Thread นั่นหมายความว่าซีพียูตัวนี้มีสมองจำนวน 4 ก้อน และมีสมองจำลองอีก 8 ก้อน ช่วยกันประมวลผลข้อมูล อย่างที่กล่าวไปในหัวข้อของ Core การรับคำสั่งเข้ามาสมองแต่ละก้อนจะทำงานเป็นลำดับคำสั่ง แต่หากมี Thread แยกช่วยประมวลผล ตัวคำสั่งที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกันจะแยกเข้าคนละ Thread ทำให้ประมวลผลได้พร้อมกัน ไม่ต้องรอคิวประมวลผลซึ่งทำให้เสียเวลา
จำนวน Thread ที่มากขึ้นจะเห็นได้ชัดเจนในการใช้งานร่วมกับโปรแกรมตัดต่อวีดีโอ ที่มีการประมวลผลหลายรูปแบบไปพร้อมๆ กัน รวมไปถึงการเปิดใช้งานหลายๆ โปรแกรมแบบ Multi-tasking การที่มีหลาย Thread ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานแบบนี้ด้วยครับ
CPU มีแบรนด์อะไรบ้าง
แข่งขันกันอย่างดุเดือดเลือดพล่านระหว่าง 2 เจ้ายักษ์ใหญ่ นำมาด้วยค่ายที่เก่าแก่อย่าง intel และอีกค่ายที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กันอย่าง AMD แล้ว 2 แบรนด์นี้ต่างกันยังไง เหมาะกับใคร มาดูกันต่อเลยครับ
CPU Intel มีข้อดีคืออะไร และเหมาะกับใคร
CPU Intel มีข้อดีคือเป็นแบรนด์เก่าแก่ มีความถนัดและความเชี่ยวชาญในด้านการผลิตซีพียูมาอย่างยาวนาน มีสถาปัตยกรรมที่ล้ำหน้า เป็นชื่อติดหูคนไทย ในเรื่องประสิทธิภาพของ CPU ตัวท็อปของ Intel ก็เร็วแรงตามราคา การใช้งานมีให้เลือกหลายราคาหลายสเปกครับ ทำงานทั่วไป พิมพ์เอกสาร ซีพียู intel ก็มีรุ่นที่ราคาประหยัด หากทำงานที่ต้องการการประมวลผลหนักๆ อย่างงานตัดต่อ งานด้านกราฟิก ทาง intel ก็มีตัวสเปกสูงๆ มาให้เลือกครับ
CPU Intel มีรุ่นอะไรบ้าง แต่ละรุ่นแตกต่างกันอย่างไร
CPU intel มีให้เลือกเยอะ วันนี้เราจะมาแนะนำซีพียูรุ่นที่คนนิยมใช้งานมาเปรียบเทียบให้ดูครับ
Core-i3 เป็นรุ่นเล็กสุดในตระกูลนี้ มีตั้งแต่ 2-4 Core และมี Ghz ไม่มากนัก เป็นรุ่นที่ถูกที่สุด เหมะสำหรับการใช้งานทั่วไปอย่าง พิมพ์งาน เปิดเว็บ ดูหนัง ฟังเพลง ไม่เหมาะต่อการเปิดโปรแกรมหลายๆ อย่างพร้อมกัน เพราะอาจทำให้เครื่องช้าลงอย่างเห็นได้ชัด
Intel 9th Gen i3-9100F 3.60 GHz CPU
Intel Core i3-10100 3.60 GHz CPU
Core-i5 เป็นรุ่นที่อัพเกรดขึ้นจาก i3 มีจำนวน Core อยู่ที่ 4-6 Core ราคาจะสูงขึ้นหน่อย อยู่ในระดับกลางๆ เหมาะสำหรับการทำงานทั่วๆ ไปจนไปถึงเล่นเกมครับ
Intel 9th Gen i5-9600K 3.70 GHz CPU
Intel Core i5-10400 2.90 GHz CPU
Core-i7 ขยับมาอีกขั้น มีจำนวน Core ที่ 4-10 Core จำนวนที่มากกว่าจะทำให้สามารถใช้งานได้หลากหลายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เปิดโปรแกรมหรือทำอะไรหลายๆ อย่างได้พร้อมกัน เหมาะสำหรับงานที่ต้องประมวลผลมากๆ อย่างทำงานกราฟิก ตัดต่อวิดีโอครับ
Intel 9th Gen i7-9700K 3.60 GHz CPU
Intel Core i7-10700F 2.90 GHz CPU
Core-i9 รุ่นตัวท็อป มีจำนวน Core มากถึง 8-16 Core มีราคาแพงที่สุดและกินไฟมากที่สุด แต่ราคาที่แพงก็แลกกับสเปกที่ทรงพลัง เหมาะกับการทำงานทุกอย่างไม่ว่าจะเล่นเกม ตัดต่อวิดีโอความละเอียดสูง งานด้านกราฟิก เป็นตัวที่มีกลุ่มเป้าหมายชัดเจน
Intel 9th Gen i9-9900K 3.60 GHz CPU
Intel Core i9-10900K 3.70 GHz Marvel's Avengers Collector's Edition CPU
CPU AMD มีข้อดีคืออะไร และเหมาะกับใคร
มาถึงซีพียูค่ายแดงกันบ้างอย่าง AMD สำหรับคนไทยยังไม่ค่อยคุ้นหูกันมากเพราะจะติดภาพ CPU จาก intel มากกว่า ทาง AMD จะขึ้นชื่อเรื่องการ์ดจอ แต่จะบอกว่าซีพียูค่ายนี้เองก็ไม่น้อยหน้ารุ่นพี่ เพราะมีรุ่นใหม่ออกมาเยอะ ประสิทธิภาพสูงไม่แพ้ intel ที่สำคัญในสเปกที่ใกล้เคียงกับอีกเจ้าก็มีราคาที่ถูกกว่า แต่ที่ถูกกว่าไม่ได้แปลว่าใช้ของไม่ดีนะครับ อย่างซีพียูซีรีย์ใหม่ของทางค่ายอย่าง Ryzen เองก็มีสถาปัตยกรรมที่สูสีกับทาง intel เลยด้วยซ้ำ AMD จึงเหมาะกับการใช้งานทั่วๆ ไป รวมไปถึงเหล่าเกมเมอร์เองก็เลือก AMD เพราะมีราคาที่คุ้มค่า เอาเงินที่เหลือไปลงกับการ์ดจอนั่นเองครับ
CPU AMD มีรุ่นอะไรบ้าง แต่ละรุ่นแตกต่างกันอย่างไร
การเรียกชื่อ CPU และลำดับรุ่นของทาง AMD จะล้อไปกับชื่อรุ่นของทาง intel เพื่อให้ผู้ใช้งานเปรียบเทียบได้ง่าย มีรุ่นอะไรบ้าง มาดูกันครับ
Ryzen3 เป็นซีพียูรุ่นเริ่มต้น มีจำนวน Core มากสุดที่ 4 คอร์ มีการ์ดจอออนบอร์ดในตัว ในรุ่นเริ่มต้นนี้เหมาะสำหรับการใช้งานทั่วๆ ไปอย่างพิมพ์งาน ดูหนัง ฟังเพลง เล่นอินเตอร์เน็ตครับ
AMD Ryzen 3 3300X with Wraith Stealth Cooler CPU
AMD Ryzen 3 Pro 4350G with Wraith Stealth Cooler CPU
Ryzen5 ขยับมาอีกขั้น มีจำนวน Core ให้เลือกตั้งแต่ 4-6 คอร์ และมีจำนวน Thread สูงสุดที่ 12 Thread เหมาะสำหรับเหล่าเกมเมอร์เพราะสเปกเพียงพอต่อการเล่น รุ่นนี้ราคาจะอยู่กลางๆ จึงเอาเงินที่เหลือไปลงกับการ์ดจอเพื่อให้ภาพและกราฟิกแบบจัดเต็มครับ
AMD Ryzen 5 3600 with Wraith Stealth Cooler CPU
AMD Ryzen 5 5600X With Cooler CPU
Ryzen7 เป็นอีกรุ่นที่เหมาะกับการทำอะไรหลายๆอย่างพร้อมกัน ทั้งเล่นเกมความละเอียดสูงๆ เปิดโปรแกรมทำงานหนักๆ ทำงานด้านกราฟิกได้สบายๆ มีจำนวน Core สูงสุดที่ 8 คอร์
AMD Ryzen 7 5800X Without Cooler CPU
AMD ryzen 7 5700G with Wraith Stealth Cooler CPU
Ryzen9 มาถึงตัวท็อปของฝ่าย AMD บ้าง มีจำนวน Core สูงสุดที่ 16 คอร์ กินไฟมากที่สุด แลกมากับประสิทธิภาพทรงพลัง เหมาะสำหรับการทำงานที่ต้องประมวลผลหนักๆ อย่างงานกราฟิก งานตัดต่อวิดีโอที่มีความละเอียดสูงและปั่นโมเดล 3D ครับ
AMD Ryzen 9 5950X Without Cooler CPU
AMD Ryzen 9 5900X Without Cooler CPU
แนะนำโปรแกรมเช็คและทดสอบความสามารถของ CPU
สำหรับใครที่อยากทดสอบประสิทธิภาพและความสามารถของ CPU ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์รวมไปถึงการทำงานในส่วนอื่นๆ ลองใช้งานโปรแกรมทดสอบพวกนี้ได้เลยครับ สามารถใช้งานได้ทั้งบนคอมพิวเตอร์พกพา คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ มาลองดูกับครับว่า CPU และระบบการประมวลผลอื่นๆ ภายในคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ดีขนาดไหนกัน
CPU-Z
โปรแกรมมาตรฐานที่อยู่คู่กับคอมพิวเตอร์มาอย่างยาวนาน สามารถดูข้อมูลได้ทั้ง CPU, การ์ดจอ, เมนบอร์ด, แรม และอื่นๆ อีกมาก แบ่งส่วนออกมาให้ดูง่าย ใช้งานง่าย และสามารถเซฟขอมูลสเปกออกมาเป็นไฟล์ .txt ได้ด้วยครับ
Speccy
เป็นโปรแกรมที่นิยมมากในหมู่เกมเมอร์ สามารถแสดงสเปกการทำงานของคอมพิวเตอร์ได้หมดแบบรวมๆ ในหน้าเดียว เช่น การทำงานของ CPU, แรม, เมนบอร์ด รวมไปถึงสามารถดูข้อมูลการทำงานแยกได้อีกอย่างอุณหภูมิ การใช้พลังานไฟฟ้า ความเร็วลม ตัวหน้าต่างโปรแกรมน่าใช้งานและใช้งานได้ง่ายครับ
CineBench
สำหรับใครที่อยากทดสอบการทำงานของ CPU อย่างเดียว ตัวโปรแกรมนี้เหมาะมากครับ เพราะจะทำการเรนเดอร์รูปภาพหนักๆ ให้เห็นการทำงานของซีพียูเพียงอย่างเดียว แตกต่างจากโปรแกรมอื่นๆ ที่จะให้ดูการประมวลผลรวมๆ ของทั้งคอมพิวเตอร์
ซื้อ CPU ยังไงให้คุ้มค่า ตอบโจทย์การใช้งานได้ครบครัน
การเลือกซื้อ CPU ยังไงให้คุ้มค่า ถ้าบอกว่ามีเงินเหลือๆ ลงเงินได้ไม่จำกัด ก็จัดตัวท็อปได้เลยครับ ทำงานได้ตั้งแต่งานทั่วไปจนถึงงานระดับมืออาชีพ แต่ถ้ามีงบจำกัด การซื้อให้คุ้มคือซื้อตามที่ตนเองใช้ครับ หากทำงานทั่วไป พิมพ์งาน เปิดเพลงฟัง ดูหนัง ก็ควรเลือกซื้อตัวที่เพียงพอต่อการใช้งานนั้นๆ การซื้อสเปกที่สูงอาจเกินความจำเป็นและเสียเงินมากกว่าเดิม
สำหรับเหล่าเกมเมอร์ ก็ควรดูสเปกเกมที่จะเล่น กิจกรรมที่จะทำ ต้องแคสเกมไปด้วยหรือไม่ เพราะเอาเงินที่เหลือไปเสริมการ์ดจอ ซื้อเมาส์เกมมิ่ง จอเกมมิ่ง หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่จำเป็นมากกว่าซื้อซีพียูสเปกสูงๆ แต่การเล่นเกมจริงใช้งานไม่ถึง สำหรับใครที่กำลังมองหาซีพียูอยู่ อยากดูว่ามีตัวไหนบ้าง ทาง Mercular มี CPU ให้เลือกหลากหลายค่าย หลายราคา หลายสเปกให้เลือก รวมไปถึงมีคอมพิวเตอร์ประกอบที่จัดชุดมาให้อย่างดี ใครที่กำลังมองหาคอมพิวเตอร์ตัวใหม่ ก็เข้ามาดูได้เลยครับ