วิธีลงทะเบียนโดรนส่วนบุคคล ต้องทำอย่างไงบ้าง ?

28 เม.ย. 2563

วิธีลงทะเบียนโดรนส่วนบุคคล ต้องทำอย่างไงบ้าง ?

จากบทความก่อนหน้า Mercular พาเพื่อน ๆ ไปรู้จักแล้วว่า "การบินโดรนที่ถูกกฎหมายต้องทำอย่างไรบ้าง" มาแล้ว ซึ่งสิ่งหนึ่งที่หลาย ๆ คนถามเข้ามามากก็คือการลงทะเบียนโดรนนั้นยากหรือไม่ ทางเราก็ต้องขอบอกเลยว่าไม่ยากเลย เพราะวิธีการต่าง ๆ Mercular รวบรวมมาให้แล้วที่ตรงนี้ โดยจะแบ่งออกเป็นสองส่วน เพราะเจ้าของโดรนต้องลงทะเบียนกับ 2 หน่วยงานได้แก่ กสทช. และ กรมการบินพลเรือน (CAAT) ซึ่งการลงทะเบียนกับกสทช.นั้นก็จำเป็นต้องเข้าไปที่สำนักงานของกสทช.ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ ส่วนการลงทะเบียนกับ CAAT เจ้าของโดรนสามารถลงทะเบียนได้แบบออนไลน์ ซึ่งการลงทะเบียนของ 2 หน่วยงานก็จะมีเอกสารที่ต้องเตรียมแตกต่างกันไปตามลิสต์ข้างล่างนี้เลย

เอกสารสำหรับใช้ลงทะเบียนกับ กสทช.

เอกสารสำหรับใช้ลงทะเบียนกับ กสทช.
  • คำขอขึ้นทะเบียน เครื่องวิทยุคมนาคมสำหรับอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน คท.30 (รับได้ที่สำนักงานของ กสทช. ตอนลงทะเบียน)
  • รูปถ่ายของโดรน (ด้านหน้า-หลัง-ข้าง-แบบรุ่นและ Serial Number ทั้งของโดรนและรีโมตควบคุม
  • ใบเสร็จ ใบกำกับภาษีที่ได้จากการซื้อจากร้านค้า
  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • สำเนาบัตรประชาชน

เอกสารสำหรับใช้ลงทะเบียนกับ CAAT

เอกสารสำหรับใช้ลงทะเบียนกับ CAAT
  • หนังสือรับรองตนเองของผู้ขอ (ดาวน์โหลดได้ผ่านเว็บของ CAAT)
  • กรมธรรม์ประกันภัย บุคคลที่ 3 มีวงเงินประกันไม่ต่ำกว่า 1,000,000.-
  • รูปถ่าย Seial Number ของโดรน
  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน

การลงทะเบียนโดรน

การลงทะเบียนโดรน

การลงทะเบียนกับกสทช.


การลงทะเบียนกับกสทช. นั้นก็เพื่อเป็นการขออนุญาตใช้งานคลื่นความถี่สำหรับควบคุมโดรนของเรานั่นเอง ซึ่งการลงทะเบียนนั้นจำเป็น จะต้องไปทำเรื่องที่ สำนักงาน กสทช. ส่วนกลาง หรือ กสทช.ภาค/เขต ได้ทั่วประเทศ โดยจะมีเปิดทำการในช่วงเวลา 08:30 - 16:30 น. และใช้เวลาทำคำขอขึ้นทะเบียนเพียงประมาณ 30 - 45 นาที จากนั้นก็กลับบ้านได้เลย

การลงทะเบียนกับ CAAT


การลงทะเบียนกับ CAAT จะใช้การลงทะเบียนออนไลน์ตาม url www.caat.or.th/uav ซึ่งภายในเว็บมีลำดับขั้นตอนการลงทะเบียนให้แล้วชัดเจน แต่ที่สำคัญผู้ใช้งานโดรนต้องมีประกันภัยของโดรนที่มีวงเงินคุ้มครอง 1 ล้านบาทขึ้นไปก่อน ซึ่งสำหรับประกันภัยที่น่าสนใจ ทาง Mercular ก็ได้รวบรวมเอาไว้ให้คร่าว ๆ แล้วเช่นกัน

อย่าลืมทำประกันภัยก่อนลงทะเบียน !

ประกันภัยโดรน

การทำประกันภัยในการลงทะเบียนนั้นจะเป็นประกันบุคคลที่ 3 ที่ทำไว้เพื่อรองรับว่าเมื่อโดรนของคุณไปก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น คุณจะสามารถชดเชยความเดือนร้อนนั้นให้กับผู้ร้องทุกข์ได้ เช่นโดนรที่ตกลงไปสร้างความเสียหายแก่อาคารบ้านเรือนเป็นต้น ส่วนประกันอื่น ๆ นั้นขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานเอง โดยประกันภัยที่ผู้ใช้โดรนโดยทั่วไปชื่นชอบก็มีอยู่ 4 เจ้าได้แก่


1. Masii มาสิ (พร้อมบริการขึ้นทะเบียนกับ กสทช. และ CAAT ให้เลย)

2. วิริยะประกันภัย

3. มิตรแท้ประกันภัย

4. Falcon Insurance บริษัท ฟอลคอนประกันภัย

เมื่อผู้ใช้งานลงทะเบียนโดรนกับทั้ง 2 หน่วยเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถออกบินโดรนได้เลย และอย่าลืมว่าต้องทำตามกฎ และกติการในการบินอย่างเคร่งครัดไม่งั้นอาจจะต้องโทษปรับที่มีอัตราปรับสูงถึง 150,000 บาท หรือจำคุกได้นั่นเอง


สำหรับบทความนี้ก็ต้องขอลาไปก่อนขอให้ทุกคนบินโดรนอย่างสนุกและมีความสุขกันนะครับ

best-seller-ads
article-banner-1
article-banner-2