จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อกสทช. เปลี่ยนความถี่ in-ear monitor และ wireless microphone

18 ก.พ. 2563

จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อกสทช. เปลี่ยนความถี่ in-ear monitor และ wireless microphone

เรียกได้ว่ามีการเตือนเป็นระยะ มาจากทางภาครัฐบาลต่อเนื่องมาหลายปีว่าประเทศไทยของเรานั้นจะมีการปรับเปลี่ยนคลื่นความถี่สำหรับอุปกรณ์ไร้สายจำพวกไมโครโฟน หูฟัง และเครื่องดนตรีต่าง ๆ ให้กลายเป็นมาตรฐานเดียวกันกับสากลโลก และตอนนี้ก็ได้มีการกำหนดดีเดย์สำหรับการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้เอาไว้ในวันที่ 31 มีนาคม 2564 โดยใครก็ตามที่ยังคงให้หูฟังบนคลื่นความถี่ที่ผิดกฏหมายหลังวันที่กำหนดไว้มีโอกาสปรับเงินมากที่สุดถึง 100,00 บาทไปจนถึงโดนจำคุกสูงสุด 5 ปีเลยทีเดียว

ความถี่ใหม่คืออะไร

ความถี่เก่า/ใหม่คืออะไร ?


เดิมทีอุปกรณ์ไร้สายส่วนมากในประเทศนั้นจะใช้งานอยู่ในช่วงความถี่ 794-806 MHz แต่เพื่อความเป็นสากล กสทช. ประกาศให้มีการปรับเปลี่ยนช่วงคลื่นความถี่ในการใช้งานอุปกรณ์ไร้สายเป็น 3 ช่วงได้แก่ 694-703 MHz 748-758 MHz และ 803-806 MHz โดยอุปกรณ์ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดในการปรับเปลี่ยนเหล่านี้ก็ได้แก่อุปกรณ์เกี่ยวกับการส่งสัญญาณเสียงผ่านคลื่นวิทยุ หรือที่เห็นได้ทั่ว ๆ ไปอย่าง กีต้าร์ไร้สาย หูฟังไร้สาย และไมค์ไร้สาย ที่ใช้ในงานโปรดัคชั่นหรือเวทีเป็นหลัก แต่ไม่ต้องกังวลไปเพราะหูฟังประเภท True Wireless หรือหูฟัง Bluetooth นั้นเชื่อมต่อผ่านสัญญาณ Bluetooth ทำให้แทบไม่ได้รับผลกระทบอะไรจากประกาศนี้เลย จะมีก็แต่กลุ่มหูฟัง Gaming True wireless ที่ฟังก์ชั่น Gaming Mode จะใช้การส่งสัญญาณผ่านความถี่วิทยุ และ In-ear Monitor ไร้สาย สำหรับใช้งานกับนักดนตรีและนักร้องบนเวทีคอนเสิร์ตเท่านั้น

เปลี่ยนความถี่แล้วได้อะไร ?

เปลี่ยนความถี่แล้วได้อะไร ?


ซึ่งการเปลี่ยนในครั้งไม่ได้มีแต่ความยุ่งยากในการเปลี่ยนอุปกรณ์เพียงอย่างเดียวแต่ยังมีเรื่องดี ๆ เช่นช่วงสัญญาณใหม่นั้น มีความกว้างของ Bandwidth มากกว่าเดิม 10 MHz ทำให้จำนวนของอุปกรณ์ไร้สายที่เชื่อมต่อผ่านวิธีการนี้สามารถทำงานพร้อมกันได้มากขึ้น แม้ว่าช่วงความถี่ใหม่จะห่างกันมาก ทำให้เวลาจะหาอุปกรณ์ต่าง ๆ จะไม่สามารถนำมาใช้ข้ามช่วงสัญญาณได้ นอกเสียแต่จะใช้อุปกรณ์รุ่นสูง ๆ ที่ช่วงสัญญาณสามารถปรับเปลี่ยนได้ จากแบรนด์ชั้นนำต่าง ๆ เป็นต้น

รีบเปลี่ยนก็ผิดกฎหมาย แล้วมาตรการรับมือมีอะไรบ้าง ?

รีบเปลี่ยนก็ผิดกฎหมาย แล้วมาตรการรับมือมีอะไรบ้าง ?


ในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้อาจจะทำให้หลาย ๆ คนสงสัยเพราะหากซื้อไมค์บนความถี่ใหม่มาใช้งานบางตัวก็ยังถือว่าผิดกฏหมาย ถ้าอย่างนั้นจะมีกำหนดการอะไรยังไงบ้าง ในปัจจุบันนั้นอุปกรณ์ในช่วงความถี่ 803 – 806 Mhz ถือว่าสามารถใช้งานได้ถูกต้องตามกฏหมาย ส่วนอุปกรณ์ในย่านความถี่อื่น ๆ นั้น สามารถจัดหาจัดซื้อได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมปี 64 และผู้นำเข้าสามารถเริ่มทำรายการจัดซื้อได้ตั้งแต่เดือนกรกฏาคมปี 63 นี้ โดยในระหว่างนี้สำหรับผู้บริโภคอาจจะต้องติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด เพราะรัฐบาลได้ขอความร่วมมือและประสานงานกับร้านค้าและผู้นำเข้ารายต่าง ๆ เพื่อให้มีการนำอุปกรณ์ไร้สายที่เข้าข่ายผิดกฏหมายในอนาคตกลับไปปรับลดค่าความถี่ให้ถูกต้องตามกฏหมายใหม่เพื่อเป็นการลดขยะพลาสติกที่จะเกิดขึ้นหลังวันที่ 31 มีนาคม 2564 ฉะนั้นพยายามติดต่อกับร้านค้าเพื่อตรวจสอบดูว่าอุปกรณ์ของคุณสามารถนำกลับไปปรับจูนค่าความถี่ใหม่ได้หรือไม่

ขยะอิเล็กทรอนิกส์หลังปี 64

ผลกระทบที่จะตามมาหลังการเปลี่ยนแปลง ?

โดยหลังจากการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ ผลกระทบก็จะเกิดขึ้นกับผู้ประกอบการ และผู้นำเข้าเป็นหลัก เพราะต้องเรียกเก็บคืนสินค้าเพื่อนำไปปรับจูนให้ลูกค้าใหม่ และปรับเปลี่ยนไลน์การผลิต ซึ่งถ้ามีหน่วยการผลิตภายในประเทศ หรือศูนย์ดูแลก็จะไม่มีปัญหาอะไร แต่สำหรับบริษัทที่นำเข้ามาเพียงอย่างเดียว อาจจะต้องส่งของกลับต่างประเทศเพื่อเปลี่ยนเป็นตัวใหม่ที่สามารถใช้งานได้กับความถี่ในอนาคตเข้ามาแทน ส่วนผู้ใช้งานนั้นกลุ่มผู้ใช้งานสินค้าประเภทนี้เป็นประจำอย่าง Concert Crew หรือ ทีมงานโปรดัคชั่นเสียง ก็อาจจะสูญเสียรายได้ในช่วงรอยต่อ ที่ไม่แน่ชัดว่าจะกินเวลา 1 สัปดาห์หรือ 1 เดือน หลังจากนำสินค้าไปปรับจูน ใครที่อุปกรณ์สามารถตั้งค่าช่วงความถี่ได้เองก็ได้เปรียบ แต่ถ้าใครทำไม่ได้ก็อาจจะต้องเสียเวลา หรือเสียเงินเพิ่ม ส่วนผู้ใช้งานทั่ว ๆ ไป จัดว่าไม่ค่อยมีผลกระทบเท่าไหร่ เพราะอุปกรณ์ไร้สายที่ใช้กันสำหรับคนทั่วไปนั้นจะเป็นอุปกรณ์ Bluetooth ซะส่วนมาก จะมีก็แต่พวกหูฟัง Gaming True Wireless ที่มีการใช้งานสัญญาณวิทยุในโหมดเกมมิ่งที่อาจจะต้องดูให้ดีว่าหูฟังทำงานในช่วงสัญญาณไหนนั่นเอง

ก็จบลงไปแล้วสำหรับภาพรวมของการเปลี่ยนแปลงคลื่นความถี่สำหรับอุปกรณ์ไร้สายในรอบนี้ของกสทช. ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ก็คงจะไม่มีอีกนานจนกว่าสากลโลกจะมีการปรับเปลี่ยนอีกครั้ง หวังว่าบทความนี้จะช่วยเป็นแนวทางให้กับผู้ใช้งานอุปกรณ์ไร้สายที่อาจจะเข้าข่ายผิดกฏหมายได้ในอนาคต ใครที่มีไมโครโฟนไร้สาย หรืออุปกรณ์ที่เข้าข่ายอยู่ที่บ้านก็รีตรวจดูให้เรียบร้อยไม่งั้นอาจจะผ่านช่วงที่ผู้ผลิตเปิดให้ส่งของกลับไปปรับจูนก็ได้

best-seller-ads
article-banner-1
article-banner-2