สรุปผลการประมูลสัญญาณ 5G มีอะไรที่ต้องรู้บ้าง

18 ก.พ. 2563

สรุปผลการประมูลสัญญาณ 5G มีอะไรที่ต้องรู้บ้าง

จบลงไปแล้วเมื่อเช้าวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 กับการประมูลใบอนุญาตประกอบการบนคลื่นความถี่ 3 ช่วงใหญ่ 700 MHz 2600 MHz และ 26 GHz ที่รัฐบาลเปิดประมูลในชื่อของ "คลื่นความถี่ 5G" ได้กวาดเงินเข้ารัฐไปมากถึงหลักแสนล้านบาท แต่นอกเหนือจากเม็ดเงินที่สะพัดเข้ารัฐไปมากกว่างบประมาณประจำปีของบางกระทรวงแล้ว การเข้ามาของคลื่นความถี่เหล่านี้จะส่งผลอะไรต่อชีวิตคนไทยบ้าง แล้ว 5G คืออะไร และทิศทางของธุรกิจการสื่อสารในไทยจะเปลี่ยนไปในทิศทางใดต่อจากนี้กันแน่

5G คืออะไร

ทำความรู้จัก 5G เครือข่ายสัญญาณความเร็วสูงแห่งอนาคต

เราอาจจะไม่รู้กันว่า G ที่ต้อท้ายตัวเลขที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้นั้นถูกย่อมาจาก Generation หรือ รุ่น โดยชื่อเต็ม ๆ ของ 5G ก็คือ การสื่อสารด้วยโทรศัพท์มือถือรุ่นที่ 5 ซึ่งการเปลี่ยนผ่านเหล่านี้จะเกิดขึ้นประมาณ 10 ปีครั้งอยู่แล้ว ซึ่งการเข้ามาของ 4G อย่างเป็นทางการอยู่ที่ปี 2012 นั่นหมายความว่าเรากำลังมาถึงยุคเปลี่ยนผ่านกันอีกครั้งแล้วนั่นเอง ซึ่งความแตกต่างของระบบการสื่อสารรุ่นที่5 หรือ 5G นั้นก็คือความเร็วและความเสถียรในการทำงานที่เพิ่มขึ้น 10 เท่า และช่วงความถี่ที่มันรองรับ เพื่อปูรากฐานไปสู่ยุคสมัยของ Smart City ที่ผู้คนจะได้ใกล้ชิดกับเทคโนโลยี หรือ IoT ชิ้นต่าง ๆ มากกว่าเดิม เพราะความเร็วในการทำงานของ 5G จะช่วยทำให้ดีเลย์ของการรับส่งข้อมูลไร้สายนั้นลดลงไปอย่างเห็นได้ชัดตั้งแต่ หูฟัง ลำโพง ไปจนถึงเทคโนโลยีที่กำลังจะเป็นไฮไลท์สำหรับช่วงต้นของยุค 5G อย่างรถยนต์ไร้คนขับที่ความเร็วการตอบสนองที่ไวขึ้น 10 เท่าอยู่ที่ 3 เสี้ยววินาที (3 มิลลิวินาที) ต่อ 1 คำสั่ง จะช่วยลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุได้อย่างแน่นอน ยังไม่รวมถึงการถ่ายทอดสดต่าง ๆ ผ่านอินเตอร์เน็ตที่คุณภาพของภาพที่ได้จะสูงขึ้นแบบก้าวกระโดดจนเราอาจจะได้เห็นภาพในระดับ 8K กันได้ง่าย ๆ ในยุคต่อไป เช่นเดียวกับเทคโนโลยี VR และ AR ที่จะเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้นนั่นเอง

5G ทำอะไรได้บ้าง

3 คลื่นความถี่มีความสำคัญอะไรบ้าง ?

สำหรับการเปิดประมูลคลื่นความถี่ในช่วงการทำงานของระบบ 5G ครั้งแรกนั้น กสทช. หรือ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เปิดประมูลคลื่นความถี่ใน 3 ช่วงการใช้งานได้แก่ 700 MHz 3 ใบอนุญาติ 2600 MHz 19 ใบอนุญาต และ 26 GHz 27 ใบอนุญาติ โดยในแต่ละช่วงความถี่นั้นก็จะมีการใช้งานแตกต่างกันออกไปตามนี้


  • ช่วงความถี่ 700 MHz : ถือว่าเป็นช่วงความถี่ต่ำสามารถส่งสัญญาณได้ไกล ครอบคลุมพื้นที่กว้าง แต่ความเร็วไม่สูงมาก
  • ช่วงความถี่ 2600 MHz : คลื่นที่ทำงานได้กลาง ๆ Bandwidth ค่อนข้างสูงรับส่งข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น พื้นที่ครอบคลุมกว้างในระดับหนึ่ง เป็นช่วงคลื่น 5G ที่นิยมใช้กันในระดับโลก
  • ช่วงความถี่ 26 GHz : คลื่นความถี่สูงระยะการส่งสัญญาณแคบ แต่ส่งของมูลได้รวดเร็วว่องไวมากที่สุด และเป็นช่วงความถี่ใหม่ที่เพิ่งเปิดใช้เพื่อรองรับ 5G โดยเฉพาะ ฟีเจอร์ต่าง ๆ ของอุปกรณ์ในยุค 5G ก็จะผูกกับคลื่นสัญญาณนี้เป็นหลัก
5G แพงไหม

ซึ่งผู้ให้บริการรายใหญ่ ๆ ของประเทศไทยก็คว้าคลื่นสัญญาณเหล่านี้กลับบ้านไม่มากก็น้อย โดย AIS และ True นั้นเลือกที่จะลงไปประมูลคว้าใบอนุญาตทั้ง 3 ช่วงความถี่มาครอบครอง ส่วน dtac และ TOT นั้น เลือกที่จะประมูลแค่ใบอนุญาตบนคลื่นความถี่ 26 GHz ที่ถือว่าเป็นคลื่นความถี่ใหม่ และปิดท้ายด้วย CAT ที่ลงทุนกับคลื่นความถี่ 700 MHz ทีน่าจะเหมาะกับการใช้บริการของตัวเองมากที่สุดไป

5G รถยนต์ไร้คนขับ

ทำไม 1 ใน 3 ค่ายใหญ่ อย่าง dtac ถึงลงทุนน้อยมาก ?

ก่อนอื่นต้องเปรยจริง ๆ แล้ว 5G เองก็สามารถใช้งานบนเครือข่าย 4G เดิมได้อยู่แล้วหมายความว่าช่วงความถี่ต่ำและกลาง ส่วน dtac อาจจะวางแผนเอาไว้ว่าจะไม่ลงทุนเพิ่มในตอนนี้ อีกทั้งจากบทสัมภาษณ์อื่น ๆ ของทางตัวของ dtac เองก็กำลังสนใจคลื่น 5G ช่วงความถี่ 3500 MHz ที่ไทยคมจะต้องส่งคืนหลังเดือนกันยายน พ.ศ.2564 และล่าช้าได้ถึง กรกฎาคม ปี 2565 ที่เป็นช่วงความถี่ที่นิยมในการนำมาทำระบบ 5G มากเป็นอันดับต้น ๆ เหมือนช่วงความถี่ย่าน 2600 MHz อีกทั้งช่วงความถี่ต่ำ 700 MHz นั้นก็ยังไม่เปิดให้บริการจนกว่าจะถึงเมษายนปีหน้า สำหรับ dtac ที่ถือว่าเป็นอันดับ 3 ของค่ายใหญ่ก็ไม่ได้มีความจำเป็นในการขยายคลื่นสัญญาณให้มากกว่าเดิมจึงไม่จำเป็นจะต้องลงทุนเพิ่มนั่นเอง ส่วน AIS และ True นั้นมีผู้ใช้งานค่อนข้างหนาแน่นทำให้หลาย ๆ ครั้งมีปัญหาการแย่งคลื่นสัญญาณกัน และเผื่ออนาคตที่จะมีผู้ใช้บริการเพิ่มอีก ทำให้ไม่แปลกที่ AIS และ True จึงพยายามประมูลคลื่นความถี่ด้วยเงินจำนวนมาก เพื่อเป็นการลงทุน 2 ต่อนั่นเอง ในทางกลับกัน dtac นั้นเลือกที่จะคว้าช่องทางสำหรับคลื่นความถี่สูงเพื่อรองรับการใช้งาน 5G แบบ Full Spec เพียงอย่างเดียว

5G เครือข่าย Dtac

โดยการให้บริการเครือข่าย 5G ในประเทศไทยนั้นยังไม่มีกำหนดการเปิดตัวอย่างเป็นทางการแน่ชัดในขณะนี้ แต่ที่ชัดเจนแล้วแน่ ๆ คือช่วงคลื่นความถี่ 700 MHz จะเปิดให้ใช้งานในปี 2564 แต่ไม่ได้มีการยืนยันว่าจะถูกนำมาใช้กับโทรศัพท์มือถือในทันที อาจจะมีการใช้งานในฟากอุตสาหกรรมก่อน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการลงทุน 5G ในปัจจุบันยังไม่เหมาะกับการใช้งานทั่ว ๆ ไป เพราะลงทุนสูง อีกทั้งตามสัญญาการให้บริการยังมีระบุเกี่ยวกับการที่ผู้ประมูลจะต้องวางโครงข่ายให้ครอบคลุมพื้นที่ eec 50% ใน 1 ปี และ 50% ของพื้นที่ประชากร smart city ภายใน 4 ปี ซึ่งถ้านับระยะเวลาสูงสุดเป็นเกณฑ์กว่าเราจะได้เห็นระบบ 5G จะลงตัวก็ประมาณปี  2567 เลยทีเดียว

best-seller-ads
article-banner-1
article-banner-2