เบาะรองหลัง
ตั้งค่าการค้นหา
วัสดุ
สินค้าแนะนำ
สินค้าใหม่
สินค้าขายดี
ราคา : ต่ำ - สูง
ราคา : สูง - ต่ำ
ส่วนลด : สูง - ต่ำ
categories.productBar.categoryTitle :
”เบาะรองหลัง”
(categories.productBar.product 33 categories.productBar.unit)
สินค้าทั้งหมดใน
“
เบาะรองหลัง
”(33 รายการ)
เบาะรองหลัง (Back Cushion) มีดีอย่างไร จำเป็นไหม?
เบาะรองหลังหรือเบาะรองหลังเพื่อสุขภาพ เป็นอุปกรณ์เสริมของเก้าอี้และจะเห็นกันบ่อยไม่ว่าจะเป็นที่ออฟฟิศหรือที่บ้านสำหรับคนที่ต้องทำงานหน้าคอมเป็นเวลานานๆ และคนส่วนใหญ่จะใช้เบาะรองนั่งเพื่อแก้ปัญหาการนั่งนานๆแล้วปวดหลัง เพราะสามารถใช้พิงหลังได้และไม่ต้องนั่งเกร็งเวลานั่งทำงานหรือบางทีจะพบเจอกับคนที่ใช้เพราะเก้าอี้ที่ไม่ตอบโจทย์กับสรีระทำให้เกิดอาการปวดหลัง เพราะนั่งแล้วรู้สึกไม่กระชับกับสรีระ และเก้าอี้ที่ใช้ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นเก้าอี้สุขภาพจึงทำให้การนั่งทำงานจะต้องเกร็งหรือบางทีนั่งผิดการยศาสตร์จึงทำให้เกิดอาการออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) และถ้าหากปล่อยให้เกิดอาการเหล่านี้นานจะทำให้เกิดปัญหาปวดหลังเรื้อรังและทำให้เสียบุคลิกได้ การใช้งานเบาะรองนั่งถือว่าช่วยบรรเทาอาการปวดหลังเหล่านี้ได้ โดยจะมีเบาะรองนั่งที่รองรับแผ่นหลังหลากหลายประเภท หลากหลายขนาด และหลากหลายวัสดุ

ประเภทเบาะรองหลัง
- แบ่งตามรูปทรง ปัจจุบันเบาะรองหลังมีหลายหลายรูปทรงไม่ว่าจะเป็นเบาะทรงสูงที่มีลักษณะคล้ายกับทรงที่เห็นตามทั่วไปมีความแบ่งแยกระหว่างช่วงแผ่นหลังทำออกแบบตามหลัก Ergonomic และรูปทรงแบบที่เห็นเบาะนุ่มทรงหมอนที่ส่วนใหญ่จะออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับเน้นความนุ่มและดันหลัง
- แบ่งตามขนาด เบาะรองหลังจะมีไซส์ที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับการใช้งานและสรีระของของผู้ใช้งาน โดยปกติเบาะรองนั่งจะมีขนาดอยู่ที่ไซส์ M และ L และโดยปกติการเลือกใช้งานของขนาดไซส์เบาะรองนั่งส่วนใหญ่จะเลือกตามขนาดขึ้นอยู้กับตัวเก้าอี้ที่ใช้งาน
- แบ่งตามวัสดุ เนื่องจากวัสดุที่ใช้ทำเบาะรองหลังมีหลายหลายวัสดุ โดยทั่วไปจะพบเห็นวัสดุของเบาะรองหลังที่เป็นตาข่าย ,เบาะรองหลังที่เป็นเมมโมรี่โฟมหรือเบาะรองหลังเมมโมรี่โฟมที่มาพร้อมเจลซิลิโคน ซึ่งวัสดุแต่ละประเภทก็ออกแบบมารองรับกับการใช้งานที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานจะเลือกใช้ประเภทไหน
เบาะรองหลังที่เป็นตาข่าย จะมีความยืดหยุ่นและระบายอากาศได้ดีทำให้การนั่งทำงานนานๆได้ไม่เป็นปัญหา
เบาะรองหลังเจลซิลิโคน ส่วนมากที่เจอจะเป็นเบาะรองหลังที่ออกแบบให้มีคูลเจล เพื่อทำให้รู้สึกเย็นสบายและผ่อนคลายยิ่งขึ้น
เบาะรองหลังเมมโมรี่โฟมมีความหนาแน่นสูงคุณสมบัติสมดุลความนุ่มและสบาย ออกแบบมาเพื่อดูดซับแรงกดบนกระดูกสันหลังที่เกิดจากการนั่งเป็นเวลานานบรรเทาอาการปวดหลังปวดคอและความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ คืนตัวได้ดี

วิธีเลือกเบาะรองหลัง
โดยปกติแล้วเบาะรองหลังถ้าให้ดีควรเลือกตามขนาดที่เหมาะสม ขนาดที่พอดีโดยเลือกตามขนาดของเก้าอี้ที่ใช้งาน และวัสดุเหมาะกับการใช้งานหรือสรีระของผู้ใช้งาน
เบาะรองหลังเหมาะกับใคร
สำหรับการใช้งานเบาะรองหลังจริงๆแล้ว สามารถใช้งานได้กับทุกคนที่ต้องการลดบรรเทาอาการปวดหลัง ระหว่างการนั่งทำงานหรือแม้กระทั่งการนั่งรถยนต์เป็นเวลานาน หรืออาจจะช่วยเสริมให้สรีระดีขึ้นหรือสำหรับใครที่มีเก้าอี้นั่งทำงานแต่ไม่ตอบโจทย์กับการนั่งก็สามาารถใช้งานเบาะรองหลังเป็นตัวช่วยในการนั่งทำงานเป็นเวลานานได้ดียิ่งขึ้น
อาการปวดหลังแก้ได้ด้วยเบาะรองหลัง
การใช้งานเบาะรองหลังสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดหลังให้ดีขึ้น ลดอาการปวดหลังเรื้อรังได้และยังสามารถทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพราะนอกจากจะช่วยเรื่องสรีระยังสามารถช่วยเรื่องการทำงานที่ยาวนานยิ่งขึ้น นอกจากจะใช้เบาะรองหลังในการเสริมให้การนั่งทำงานนานๆดีขึ้นแล้ว สิ่งสำคัญในการบรรเทาอาการปวดหลังได้อีกคือการเคลื่อนไหวร่างกายในระหว่างการนั่งทำงาน เพราะการได้ขยับตัวระหว่างการทำงานจะช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ทำให้เลือดในร่างกายไหวเวียนได้ดี การลุกขึ้นยืดเส้นยืดสาย

เบาะรองหลัง เพื่อสุขภาพที่ Mercular แนะนำ
- เบาะรองหลังเพื่อสุขภาพทรงสูง Bewell Healthy Back H06 Back Rest
- ชุดเบาะรองหลังและเบาะรองนั่ง Bewell Ergonomic Ergo-Cushion EC01 Back and Seat
- ชุดเบาะรองหลังและเบาะรองนั่ง Ergotrend Miyo korea Back Rest + Hip Up Set จากแบรนด์ Ergotrend
- เบาะรองหลัง Ergotrend HIP UP
- เบาะรองหลัง Ergotrend MIYO Backrest
- พนักพิงหลัง Ergotrend Ultraback Backrest
นอกจากการเบาะรองหลังจะช่วยให้การทำงานนานๆได้ดีขึ้น เนื่องจากสามารถใช้งานเบาะรองหลังบรรเทาอาการปวดเกร็งของแผ่นหลัง แล้วยังช่วยเรื่องสรีระในการทำงานที่สามารถลดอาการหลังคดหลังงอของกล้ามเนื้อส่วนหลังได้อีกด้วย นอกจากนี้เบาะรองหลังยังสามารถใช้เพิ่มกับการพิงสำหรับนั่งบนรถยนต์ได้อีกด้วย หากต้องเดินทางไกลและใช้เวลากับการนั่งอยู่บนรถเป็นเวลานาน ก็เบาะรองหลังสามารถบรรเทาอาการเมื่อยหลังจากการนั่งขับรถเป็นเวลานานได้อีกด้วย