พรีวิว Keychron K7 Pro คีย์บอร์ดตัวบางแคปสวย ใช้ VIA/QMK ได้แล้ว

8 มี.ค. 2566

พรีวิว Keychron K7 Pro คีย์บอร์ดตัวบางแคปสวย ใช้ VIA/QMK ได้แล้ว

เอาใจสาย Low Profile กันบ้างสำหรับ Keychron K7 Pro แมคคานิคอลคีย์บอร์ดสุดบางขนาด 65% คีย์บอร์ดในรูปแบบนี้ห่างหายไปจากแบรนด์ Keychron สักพักนึงเลยครับ น่าจะไปเน้นรุ่นทั่วไปอยู่ แต่ก็ยังไม่ลืม Low Profile ที่หลายคนติดใจ สำหรับเจ้า Keychron K7 Pro นี้ไม่ได้มีแค่ชื่อโปรต่อท้ายเท่ๆ เฉยๆ แต่ยังมีฟีเจอร์เพิ่มมาหลายจุดเลยทีเดียวที่ทำให้มันน่าใช้งานกว่าตัวธรรมดา แถมยังโดดเด่นกว่าคีย์บอร์ด Low Profile รุ่นอื่นของแบรนด์อีกด้วย


ใครที่กำลังมองหาคีย์บอร์ดบางๆ Low Profile อยู่ ต้องไม่พลาดตัวนี้เลยครับ พบกับ “พรีวิว Keychron K7 Pro คีย์บอร์ดตัวบางแคปสวย ใช้ VIA/QMK ได้แล้ว” ตัวนี้ต้องถูกใจคนทำงานอย่างแน่นอนครับ

Keychron K7 Pro คีย์บอร์ดวางเฉียงมีคีย์แคปวาง

พรีวิว Keychron K7 Pro

Keychron ได้ออกสินค้าอย่างคีย์บอร์ด Low Profile มาแล้วหลายรุ่น แต่ละรุ่นก็แตกต่างกันไปตามขนาด Layout มีตั้งแต่ Full-Size อย่าง K5 ขนาด TKL ในชื่อ K1 ซึ่งเป็นรุ่นที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก หรือถ้าเล็กลงมาหน่อยก็ 75% ในรุ่น K3 และเล็กไปได้อีกที่ขนาด 65% ที่เราได้เห็นอยู่นี้อย่าง K7 ที่เคยออกรุ่นธรรมดามาก่อนแล้ว และได้พัฒนามาเป็น K7 Pro นั่นเอง คีย์บอร์ดตัวใหม่อย่าง K7 Pro จะมีอะไรน่าสนใจ มีจุดแตกต่างจากรุ่นธรรมดา K7 อย่างไร วันนี้เรามาพรีวิวให้ดูกันครับ


Keychron K7 Pro ดีไซน์บางเฉียบ


ที่ Keychron K7 Pro มีขนาดที่บางเฉียบแบบนี้ เพราะมันเป็นคีย์บอร์ดแบบ Low Profile ให้คิดถึงคีย์บอร์ดที่อยู่บนโน๊ตบุ๊ค ที่ปุ่มทุกแถวมีความสูงเท่ากัน คีย์บอร์ดแบบ Low Profile ก็เป็นแบบนั้นเลยครับ ตัวคีย์บอร์ดบาง เคสคีย์บอร์ดไร้กรอบ เห็นส่วนสวิตซ์ที่ยื่นออกมา และคีย์แคปแต่ละแถวมีความสูงพอๆ กัน แต่มันไม่ได้เท่ากันเป๊ะขนาดนั้น เพราะส่วนกรอบคีย์บอร์ดมีการลาดเอียงเล็กน้อยเพื่อให้สอดคล้องกับการวางมือระหว่างพิมพ์มากขึ้น ด้วยความบางของมัน ส่วนที่หนาที่สุด มีความสูงเพียง 22 มิลลิเมตรเท่านั้นเอง


ทางด้านวัสดุก็มั่นใจได้ในความแข็งแรงทนทานเลยครับ ส่วนกรอบของคีย์บอร์ดทางแบรนด์เลือกใช้วัสดุ ABS และ Aluminum ที่แข็งแรง ทนทาน แถมยังมีน้ำหนักเบา ทำให้มันมีน้ำหนักเพียง 436 กรัมเท่านั้น ตอกย้ำความง่ายในการพกพาไปอีกครับ


ส่วน Layout ของคีย์บอร์ดตัวนี้เป็นขนาด 65% ที่หลายคนชื่อชอบเลยครับ โดยหากเทียบกับคีย์บอร์ด Full-Size ตัวนี้ตัดส่วนตัวเลขหรือนัมแพด ปุ่มฟังก์ชัน(ปุ่มF) และปุ่มคำสั่งบางปุ่มออกไป ทำให้มันเหมาะสำหรับคนที่ไม่ได้เน้นใช้ปุ่มตัวเลข เน้นพิมพ์ตัวอักษรบ่อย ซึ่งนำไปใช้งานได้หลายรูปแบบเลยครับ

สเปกและจุดเด่นของ Keychron K7 Pro

Keychron K7 Pro เชื่อมต่อมีสายก็ดี ไร้สายก็ได้


Keychron K7 Pro รองรับการเชื่อมต่อ 2 รูปแบบ นั่นคือการเชื่อมต่อแบบมีสายผ่านสายเชื่อมต่อที่มีมาให้ภายในชุดพอร์ต USB-A ทำให้มันเข้ากันได้ดีกับอุปกรณ์อย่างคอมพิวเตอร์และโน๊ตบุ๊ค ด้วยซิปสถาปัตยกรรม ARM พลังงานต่ำพิเศษที่ทรงพลังพร้อมกับ 128K Flash ทำให้มันส่งสัญญาณได้รวดเร็วที่ 1000 Hz นั่นทำให้แทบไม่รู้สึกถึงความหน่วงเลยแม้จะใช้งานในการเล่นเกม 


ส่วนอีกการเชื่อมต่อจะเป็นระบบ Bluetooth ไร้สาย ไร้ความเกะกะบนโต๊ะทำงาน และยังเข้ากันได้ดีกับอุปกรณ์พกพาอย่างสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต แถมยังใช้งานได้ดีกับโน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่ที่มีพอร์ตการเชื่อมต่ออย่างจำกัด หรือไม่มีพอร์ต USB-A มาให้เลยอย่าง MacBook ด้วยครับ


อีกความพิเศษของการเชื่อมต่อไร้สาย คือการจดจำและสลับสับเปลี่ยนอุปกรณ์ได้มากสูงสุด 3 เครื่องด้วยกัน นั่นทำให้หากเคยเชื่อมต่ออุปกรณ์ไปแล้วครั้งหนึ่ง ก็สามารถสลับกลับมาใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องกดเชื่อมต่อใหม่อีกครั้ง สะดวกสุดๆ ไปเลยครับสำหรับคนที่มีหลายอุปกรณ์ หรือใช้คีย์บอร์ดตัวเดียวร่วมกับอุปกรณ์ทของที่ทำงาน และที่บ้าน ไม่ต้องกดเชื่อมต่อใหม่ให้เสียเวลาเลย


Keychron K7 Pro สวิตซ์แบบ Hot-Swap และคีย์แคปที่โดดเด่น


มาดูทางด้านสวิตซ์กันบ้างครับ Keychron K7 Pro ตัวนี้เลือกใช้ Gateron low-profile mechanical ที่มีความเตี้ยกว่าแมคคานิคอลสวิตซ์ทั่วไป เนื่องจากมันเป็นคีย์บอร์ดแบบ Low Profile แต่ทางด้านสัมผัสก็ยังให้ได้ไม่ต่างกันมากนัก มีตัวเลือกสวิตซ์ 2 รูปแบบ นั่นคือ Red Switch สวิตซ์จังหวะเดียวกันลื่นๆ เสียงเบา และ Brown Switch สวิตซ์สองจังหวะกดสนุก เสียงดังขึ้นมาหน่อย โดยหากต้องการสวิตซ์ตัวอื่น ก็สามารถซื้อมาเปลี่ยนได้ง่ายๆ ด้วยฟีเจอร์ Hot-Swap ทำให้การเปลี่ยนสวิตซ์ไม่ต้องบัดกรีอีกต่อไป แต่ก็มีข้อจำกัดตรงที่รองรับแค่สวิตซ์ Gateron low-profile mechanical เท่านั้น เนื่องจากโปรแกรมปรับแต่งไม่รองรับ Optical switches ตัวอื่นๆ


ส่วนคีย์แคปก็มีการเปลี่ยนแปลงจากรุ่นเดิมอย่าง K7 ที่เป็นทรงเหลี่ยม ตรงกลางนูนลงไปให้เข้านิ้ว เปลี่ยนเป็นตัวใหม่ที่มีความโค้งมนมากยิ่งขึ้น มีสีสันมากขึ้น ซึ่งเป็นสีคีย์แคปที่ทางแบรนด์เลือกใช้กับคีย์บอร์ดตระกูล Q หลายตัวเลยครับ วัสดุที่ใช้เป็น PBT ที่มีความแข็งแรง ทนทาน เกิดเงาได้ยาก เลือกใช้การพิมพ์แบบ Double-Shot แต่ก็มีข้อจำกัดเล็กน้อยคือคีย์แคปนี้ ไฟไม่ลอดออกมานั่นเอง แตกต่างจากรุ่น K7 ที่ไฟ RGB ลอดทำให้เห็นคีย์ได้ชัดเจนแม้ใช้งานในพื้นที่แสงน้องครับ

ขนาดความหนา Keychron K7 Pro และสวิตซ์

Keychron K7 Pro รองรับซอฟต์แวร์ QMK & VIA


ถ้าเทียบกับคีย์บอร์ด Low Profile ที่ผ่านมาของ Keychron นี่น่าจะเป็นตัวแรกเลยครับที่รองรับซอฟต์แวร์ปรับแต่งที่หลายคนคุ้นเคยอย่าง QMK & VIA การมีซอฟต์แวร์สำหรับปรับแต่ง ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและความหลากหลายในการใช้งานมากยิ่งขึ้น เราสามารถปรับค่าคำสั่งรายปุ่ม เพิ่มปุ่มมาโคร และด้วยความเป็นคีย์บอร์ดขนาด 65% ที่ถูกตัดปุ่มไปหลายส่วน นั่นทำให้การมีซอฟต์แวร์นี้สร้าง Layer เสริมได้ ให้เราได้ตั้งค่าคีย์ลัดเพื่อใช้งานปุ่มที่หายไปนั่นคือ 


Keychron K7 Pro ยังมีฟีเจอร์น่าสนใจ


นอกจากจุดหลักๆ ที่เราได้กล่าวไปข้างต้น ทางด้านการใช้งานก็ยังมีฟีเจอร์เสริมที่น่าสนใจอีกมากเพื่อให้คีย์บอร์ดตัวนี้ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพทุกการใช้งาน


รองรับ N-Key Rollover (NKRO) : ฟีเจอร์ที่เกมเมอร์คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ช่วยให้สามารถกดได้หลายปุ่มพร้อมกันและยังคงส่งคำสั่งได้อยู่ หากไม่มีฟีเจอร์นี้ หากกดหลายปุ่มพร้อมกันมากเกินกำหนด จะทำให้คีย์บอร์ดไม่สามารถส่งคำสั่งได้ หรือส่งไปไม่ครบ เป็นปัญหากับเกมเมอร์ที่มักต้องกดหลายปุ่มพร้อมกัน จะเดิน จะบังคับทิศทาง ไหนจะต้องเติมยา กดสกิล ปักพื้นที่ สำหรับเกมเมอร์ ฟีเจอร์นี้ไม่มีไม่ได้เลยครับ


รองรับการใช้งานทั้ง macOS และ Windows : แม้คีย์บอร์ดทั่วไปจะสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์เหล่านี้ได้ แต่บางฟีเจอร์ก็ต้องการคีย์บอร์ดที่ออกแบบมารองรับ โดยเฉพาะ macOS ที่การใช้งานคีย์ลัด หรือปุ่มคำสั่งบางปุ่มแตกต่างกับ Windows หากใช้งานคีย์บอร์ดที่สามารถสลับการใช้งานได้ทั้งสองระบบปฏิบัติการ จะช่วยให้มันทำงานได้เต็มระบบมากยิ่งขึ้น รองรับทุกคีย์ลัด และคำสั่งเฉพาะของระบบนั่นเองครับ

แมคคานิคอลคีย์บอร์ด Low Profile Keychron K7 Pro

Keychron K7 Pro น้องเล็กคนใหม่ ขวัญใจคนทำงาน

เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับ Keychron K7 Pro ตัวนี้ แค่อ่านพรีวิวก็ยังน่าใช้งานแบบนี้ ใครที่ชอบคีย์บอร์ด Low Profile อยู่ ต้องเอา Keychron K7 Pro ขึ้นเป็นตัวเลือกเลยครับ ตอนนี้ยังไม่มีวางจำหน่ายในประเทศไทย แต่หากใครสนใจมากๆ ก็สามารถเข้าไปจับจองได้ในเว็บไซต์หลักของทาง Keychron เปิดราคามาได้น่าสนใจ ในรุ่น White Backlight มีราคาอยู่ที่ $94 หรือที่ 3,300 บาท ส่วนในรุ่นไฟ RGB จะมีราคาอยู่ที่ $104 หรือที่ 3,600 บาทครับ


หากใครกำลังมองหาคีย์บอร์ดสำหรับทำงาน คีย์บอร์ดเกมมิ่ง หรือแมคคานิคอลคีย์บอร์ดตัวอื่นๆ อยู่ที่ Mercular เรามีสินค้าให้เลือกมากมาย คัดสรรจากแบรนด์ชั้นนำ สินค้าคุณภาพ การรับประกันหลังการขายหายห่วงครับ

best-seller-ads
article-banner-1
article-banner-2