ประวัติของโต๊ะปรับระดับ และการทำงานแบบ Ergonomic

8 พ.ย. 2566

ประวัติของโต๊ะปรับระดับ และการทำงานแบบ Ergonomic

โต๊ะปรับระดับ เป็นไอเทมที่หลายคนใช้ในการทำงาน เพราะด้วยฟังก์ชันมากมายที่ใส่มาให้เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ เพิ่มความโปรดักทีฟ แต่หลายคนคงจะไม่รู้ที่มาของมันใช่ไหมล่ะครับ ว่ามันมายังไง ใครเป็นคนคิดค้น บางคนอาจจะคิดว่ามันเป็นของใหม่ที่มีเมื่อไม่นานมานี้ ไม่เลย เพราะความจริงนั้นมีมานานมาก ๆ เราไปดูประวัติของมันกันเลยดีกว่า ว่ามีความเป็นมายังไง และใช้มันยังไงให้ถูกต้องเพื่อการทำงานแบบ Ergonomic ไปกันเลย

ที่มาของโต๊ะปรับระดับและการใช้งานที่ถูกหลัก

standing-desk-history-1

โต๊ะปรับระดับมายังไง


ก่อนจะมาเป็นโต๊ะปรับระดับเหมือนทุกวันนี้ได้นั้น ต้องบอกเลยว่าได้รับการพัฒนามาอย่างยาวนานกันสุด ๆ นานจนหลายคนไม่คาดคิดเลยก็ว่าได้ เอ๊ะ มันจะขนาดนั้นเลยเหรอ อยากรู้ตามเรามาเลย


หลักฐานเมื่อ 600 ปีก่อน


โดยแรกเริ่มเดิมทีแล้วเนี่ย โต๊ะปรับระดับนั้นไม่ได้ถูกเจาะจงว่ามันจะต้องเลื่อนขึ้นลงได้เหมือนทุกวันนี้ แต่จะเป็นเพียงโต๊ะแบบยืนเท่านั้น ซึ่งประวัติของมันไม่ได้เฉพาะเจาะจงว่ามากจากที่ไหน โดยใคร และอย่างไร แต่ได้มีการค้นพบว่าในยุคกรีกโบราณมีการใช้โต๊ะยืน หรือเราจะคุ้นชินในชื่อโต๊ะปราศรัย ที่ใช้เพื่อการป่าวประกาศ ข่าวสาร หรือสื่อต่าง ๆ ให้ผู้คนสามารถโฟกัสสนใจได้มากยิ่งขึ้นนั่นเอง ซึ่งมีสัญญาณบางอย่างที่บ่งบอกไปถึงเมื่อ 600 ปีที่แล้วในยุค 1400 ในช่วงทศวรรษที่ 1700 ว่าการมีโต๊ะยืนนั้นเป็นเครื่องบ่งบอกหรือสัญลักษณ์ของความมั่งคั่ง และใช้ในการดูแผนที่ หนังสือ และเอกสารในมุมสูง


ย้อนกลับไปในศตวรรษที่ 15


Leonardo Da Vinci เป็นอีกหนึ่งบุคคลที่มีความเชื่อมโยงกับโต๊ะยืน ดาวินชีเป็นคนที่ชื่นชอบทำงานขณะยืน เขายังใช้ตาตั้งเพื่อวาดโมนาลิซา และยังใช้โต๊ะยืนเพื่อสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ทั้งร่มชูชีพ เครื่องจักรบินได้ และอื่น ๆ อีกมากมาย เพราะมันช่วยให้ยืนตัวตรงและเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระมากขึ้น ช่วยให้ตัวตรง ช่วยลดอาการเมื่อยล้า เพิ่มความกระฉับกระเฉงและสามารถทำงานได้ยาวนานมากขึ้น

standing-desk-history-2

ช่วงศตวรรษที่ 16 ถึง 18


ต่อมาเชื่อกันว่าโต๊ะยืนนั้นเปิดตัวครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก โต๊ะยืนได้รับการบันทึกเป็นหลักฐานไว้ในห้องสมุดในปี 1626 และแนวคิดเรื่องการเขียนในขณะที่ยืนก็ได้รับการยกระดับมากยิ่งขึ้น และอีกฝั่งหนึ่งด้านโธมัส เจฟเฟอร์สันก็มีการใช้โต๊ะยืน ขณะร่างปฏิญญาอิสรภาพ เขาพัฒนา tall desk หรือโต๊ะสูง ที่มีขาหมุดทั้งหมด 6 ขาเพื่อเพิ่มความมั่นคงในการตั้ง มีส่วนบนหรือหน้าโต๊ะที่ลาดเอียงซึ่งสามารถปรับได้ด้วยขาตั้งแบบวงล้อ และมีขนาดใหญ่พอสำหรับยก ว่ากันว่าเจฟเฟอร์สันได้คิดค้นพิมพ์เขียวทางสถาปัตยกรรมที่มีชื่อเสียงมากมายจากโต๊ะตัวนี้ เรียกได้ว่าเป็นโต๊ะปรับระดับยุคแรก ๆ เลยก็ว่าได้


ศตวรรษที่ 18 และ 19


โต๊ะยืนยังคงเป็นสิ่งที่มีเฉพาะในหมู่คนที่มีฐานะ และยังสามารถพบเห็นได้ในเฉพาะสำนักงานและภายในบ้านของคนที่มีฐานะเท่านั้น แต่ก็มีบางคนที่ไม่เห็นด้วยในจุดนี้ นั่นก็คือ จ็อบ ออร์ตัน รัฐมนตรีชาวอังกฤษ จ็อบ ออร์ตัน ได้กล่าวว่า “ ชีวิตที่อยู่เฉย ๆ อาจส่งผลเสียได้ ดังนั้นคุณจึงต้องรักษาร่างกายของคุณให้ตรงที่สุดเมื่อเขียนหรืออ่านนิยาย อย่าก้มศีรษะหรืองอหน้าอก เพื่อป้องกันสิ่งเหล่านี้ คุณควรที่จะมีโต๊ะยืน ” ซึ่งนี่อาจจะเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้โต๊ะยืนสามารถกระจายออกไปและแพร่หลายมากยิ่งขึ้น

standing-desk-history-3

ศตวรรษที่ 19


โต๊ะยืนเริ่มแพร่กระจายมากขึ้นกับคนทั่วไป โดยมีหลักฐานการใช้โต๊ะยืนจากนักเขียนนวนิยายเจ้าของรางวัลโนเบลอย่าง เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์ จากการให้สัมภาษณ์ที่ตีพิมพ์ใน Paris Review โดยที่ผู้สัมภาษณ์ได้กล่าวถึงการทำงานของเออร์เนสต์ เฮมิงเวย์ ว่า “นิสัยการทำงานตั้งแต่แรกเริ่มของเขานั้น  เฮมิงเวย์จะยืนเมื่อเขาเขียน เขายืนอยู่ในรองเท้าไม่มีส้นขนาดใหญ่คู่หนึ่งบนผิวหนังที่สึกหรอของ Lesser kudu เครื่องพิมพ์ดีดและกระดานอ่านสูงอยู่ตรงหน้าเขา” ตามข่าวได้กล่าวไว้ว่า เฮมิงเวย์นั้นได้เริ่มใช้โต๊ะยืนขณะเขียนเนื่องจากการได้รับบาดเจ็บที่ขาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และได้รู้วิธีทำงานกับโต๊ะยืนจากบรรณาธิการคนหนึ่ง


และยังมีนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ชาวอังกฤษ Charles Dickens เขามีโต๊ะยืนในพื้นที่ทำงานของเขา โดย Elizabeth Gaskell นักเขียนในศตวรรษที่ 19 บรรยายไว้เมื่อเธอไปเยี่ยมเขาว่า “หนังสืออยู่ทั่วทุกมุม ขึ้นไปบนเพดานและลงสู่พื้น โต๊ะยืนที่เขาเขียน และเก้าอี้นั่งสบายทุกประเภท” 


คนสุดท้ายคือ Winston Churchill เขาชอบใช้โต๊ะยืนในการเขียนหนังสือและคำกล่าวรวมไปถึงสุนทรพจน์หลายเล่ม การลุกยืนนั้นช่วยให้เชอร์ชิลล์มองเห็นข้อผิดพลาดด้วยสายตาที่เฉียบคมและสามารถแก้ไขได้ทันทีนั่นเอง


ศตวรรษที่ 20


จากทศวรรษที่ 1900 ธุรกิจและอุตสาหกรรมเริ่มขยายตัวมากขึ้น คนทำงานที่ต้องนั่งทำงานอยู่กับที่มีมากยิ่งขึ้น และทำให้การทำงานประจำในสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นถึง 83% ตั้งแต่ปี 1950 และในปัจจุบันนี้มีเพียงแค่ 20% เท่านั้นที่ทำงานผ่านการเคลื่อนไหวร่างกาย และได้มีการวิจัยเพิ่มเติมว่าการนั่งอยู่กับที่เป็นเวลานาน ๆ สามารถฆ่าเราได้จริง ๆ โดยการนั่งงนานนั่นช่วยเพิ่มความเสี่ยงกับการเป็นความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือร้ายแรงที่สุดเลยก็คือมะเร็งนั่นเอง ด้วยเหตุผลนี้จึงทำให้มีการรื้อฟื้นแนวคิดเรื่องการยืนขณะทำงาน และได้วิวัฒนาการโต๊ะยืนให้พัฒนามาเป็นโต๊ะปรับระดับอย่างเช่นทุกวันนี้นั่นเอง

standing-desk-history-4

ปัจจุบัน


ปัจจุบันนี้โต๊ะปรับระดับมีการพัฒนามากขึ้นมากเลยก็ว่าได้ ยิ่งช่วงปี 2019 ที่ผ่านมากับวิกฤตกาลโรค Covid-19 ระบาด ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ทำงานอยู่กับบ้านหรือ WFH กันเกือบจะ 100% ทำให้มีกระแสเกี่ยวกับโต๊ะปรับระดับขึ้นมาอีกครั้งจนถึงทุกวันนี้นั่นเอง และด้วยการวิจัยและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้โต๊ะปรับระดับนั้นมีฟังก์ชันการทำงานที่ตอบโจทย์เรื่องสุขภาพเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการปรับความสูงได้อย่างอิสระ รองรับทุกส่วนสูงของผู้ใช้งาน ระบบมอเตอร์ช่วยในการปรับความสูงได้อัตโนมัติและสมูธ ตามจากเมื่อก่อนที่ต้องใช้แรงในการปรับ รวมไปถึงฟีเจอร์การตั้งเวลาสำหรับการลุกยืนหลังจากนั่งทำงานมาระยะหนึ่ง แถมยังสามารถตั้งค่าได้หลายโปรไฟล์เพื่อความสะดวกในการใช้งานอีกด้วย บอกเลยว่าโต๊ะปรับระดับมีประโยชน์มาก ๆ สำหรับการทำงานในปัจจุบันช่วยลดอาการปวดเมื่อยหลัง หรือการกดทับที่มากเกินไป หรือจะลดโอกาสการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคอ้วน และโรคร้ายสุด ๆ อย่างมะเร็ง จะเห็นได้ว่าโต๊ะปรับระดับนั้นจะทำให้สุขภาพของเราดีขึ้นมากกว่าเดิมแน่นอน 


แต่ว่าไม่ใช่ว่าเรามีโต๊ะปรับระดับแล้วเราจะสุขภาพดีเลย เราต้องมีการใช้งานที่ถูกต้องด้วย เพราะหากเราทำงานในแบบเดิม ๆ เราอาจจะใช้งานโดยเปล่าประโยชน์ก็ได้ งั้นเราไปดูการทำงานแบบ Ergonomic ที่ถูกต้องด้วยโต๊ะปรับระดับกันดีกว่าครับ ว่าเราควรทำยังไง ใช้ยังไงให้สุขภาพดี ใช้ยังไงให้เห็นผล ถ้าพร้อมแล้ว ไปกันเลยครับ

standing-desk-history-5

การทำงานแบบ Ergonomic ด้วยโต๊ะปรับระดับ


การทำงานแบบ Ergonomic คือการทำงานที่ถูกต้องตามหลักสรีรศาสตร์เพื่อป้องกันอาการปวดเมื่อยต่าง ๆ ที่จะตามมา ซึ่งจะบอกเป๊ะ ๆ เนื่องจากรูปร่างและส่วนสูงของแต่ละคนนั้นก็ล้วนไม่เท่ากัน ดังนั้นแล้วเราจึงนำวิธีใช้งานที่ครอบคลุมการใช้งานมาให้เพื่อน ๆ ได้ลองปรับใช้กัน รับรองว่าสามารถใช้ได้ทุกส่วนสูง ทุกเพศ ทุกวัน และทุกคนแน่นอน หากพร้อมแล้วสามารถทำตามได้ดังนี้เลย


  • ข้อศอกทำมุม 90 องศา


  • ผ่อนไหล่สบาย ๆ ไม่เกร็ง


  • ระดับสายอยู่ที่ขอบบนของหน้าจอ


  • แขนอยู่ระนาบเดียวกับเมาส์และคีย์บอร์ด


  • ควรปรับนั่งสลับยืนทุก 30 - 45 นาที


นี่คือการทำงานที่ถูกต้องตามหลัก Ergonomic  นั่นเอง หากเรานั่งดี ๆ ยืนดี ๆ แบบถูกต้องล่ะก็ ก็จะทำให้เราสุขภาพดีไปพร้อมกับความสบายในการใช้งานด้วยนั่นเองครับผม

standing-desk-history-6

เป็นไงกันบ้างครับกับประวัติที่มาของโต๊ะปรับระดับที่เรานำมาฝาก รวมไปถึงหลักการทำงานที่ถูกต้องเพื่อใช้กับโต๊ะปรับระดับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อน ๆ นะครับผม และหากใครที่สนใจโต๊ะปรับระดับไปใช้งานกันล่ะก็ สามารถเข้ามารับชมได้ทาง Mercular.com ของเราได้เลย เรามีให้เลือกซื้อหลากหลายแบรนด์ทั้งแบรนด์ชั้นนำต่าง ๆ ไม่ว่าจะ Ergotrend, Bewell, TROOS Work และ DreamDesk รวมไปถึงฟังก์ชันต่าง ๆ ท็อปโต๊ะสีและขนาดต่าง ๆ เรามีให้เลือกอย่างจุใจแน่นอน สุดท้ายนี้ขอให้ทุกคนเพลิดเพลินกับการใช้งานโต๊ะปรับระดับ และขอให้สุขภาพดีขึ้นจากคำแนะนำของเรานะครับผม


ขอบคุณข้อมูลจาก : btod, thestandingdesk, ergodesks, monticello, flexispot, Bewell Style

best-seller-ads
article-banner-1
article-banner-2