เจาะลึกมาตรฐานความปลอดภัยบนหัวชาร์จที่ทุกคนควรรู้
12 ม.ค. 2565
ทุกวันนี้ คนส่วนใหญ่มักจะมองข้ามเรื่องรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างการเลือกซื้ออุปกรณ์เสริม หัวชาร์จ โดยที่ไม่รู้เลยว่า หากเราเลือกใช้งานหัวชาร์จ ที่ไม่ถูกต้อง ไม่ได้มาตรฐาน และจ่ายไฟไม่ตรงตามอุปกรณ์ที่ใช้งานจะส่งผลเสียต่าง ๆ มากมายไม่ว่าจะเป็นเรื่องของแบตเสื่อม รวมไปถึงตัวเครื่องอาจเกิดความเสียหายที่ไม่อาจจะกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้ วันนี้เราเลยอยากจะมา เจาะลึกมาตรฐานความปลอดภัยบนหัวชาร์จที่ทุกคนควรรู้ เพื่อให้ได้เลือกซื้อใช้งาน หัวชาร์จ ได้อย่างถูกต้อง ให้ตรงตามสเปคสมาร์ทโฟนที่เราใช้งานกันอยู่ เพื่อที่ว่าจะได้ใชาร์จใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่เกิดปัญหาขึ้น
หากซื้อหัวชาร์จที่ไม่ได้มาตรฐาน อาจส่งผลทำให้เกิดอันตราย!
ปกติแล้ว เวลาที่เราซื้อสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต เครื่องใหม่ ภายในกล่องจะมาพร้อมอแดปเตอร์ (Adaptor) หรือที่เราเรียกกันว่าหัวชาร์จที่จะมาควบคู่กับสายชาร์จ แต่ในส่วนของ iPhone จาก Apple นั้นจะไม่ได้มีหัวชาร์จมาให้ต้องซื้อเพิ่ม ซึ่งบนหัวชาร์จจะมีการระบุตัวเลขแสดง กำลังไฟ รวมไปถึงแรงดันไฟ ที่จะเป็นอักษร Amps และ Voltage และ Input, Output ซึ่งหากไม่สังเกต ก็แทบจะมองไม่เห็น หรือบางคนอาจไม่ได้ใส่ใจด้วยซํ้า แต่เมื่อที่เราจะต้องหาซื้อหัวชาร์จใหม่ สิ่งเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญ เพราะการที่เราจะซื้อหัวชาร์จใหม่สักชิ้น เราจะต้องใช้งานติดตัวอยู่ตลอด ชาร์จใช้งานทั้งที่บ้าน และที่ทำงาน เรื่องของความปลอดภัยจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ หากเราซื้อหัวชาร์จที่จ่ายไฟเกินสเปคสมาร์ทโฟนของเรา หรือซื้อหัวชาร์จที่ไม่ได้มีมาตรฐานใด ๆ รองรับ อาจส่งผลทำให้เกิดอันตรายอย่างมากเลยครับ
วิธีการเลือกซื้อหัวชาร์จมาตรฐานดีที่ถูกต้อง
หลายอาจคิดว่า หัวชาร์จที่ขายทั่วไปตามท้องตลอด สามารถนำมาชาร์จใช้งานได้โดยไม่เกิดปัญหา แต่ความจริงแล้วหากว่าเราใช้งานหัวชาร์จที่ไม่มีมาตรฐานจะส่งผลเสียต่อแบตเตอรี่รวมไปถึงตัวอุปกรณ์สมาร์ทโฟนเองด้วย โดยเฉพาะผู้ใช้งาน iPhone อาจต้องหันกลับมาคิดใหม่ เพราะหัวชาร์จของ Apple มีความอัจฉริยะมาก หากเราใช้หัวชาร์จที่ไม่ไ่ด้มาตรฐาน เครื่อง iPhone จะไม่ยอมรับให้เราชาร์จไฟเข้า accessories not supported จนทำให้ตัวเครื่องไอโฟนอาจเกิดปัญหาขึ้นได้ในอนาคต นอกจากนี้สายชาร์จก็เป็นสิ่งที่สำคัญเราควรเลือกสายชาร์จที่ได้มาตรฐานอย่าง iPhone เองนั้น ก็จะมีมาตรฐาน MFI นอกจากสินค้าแบรนด์ Apple แล้วก็ยังมีแบรนด์ผู้ผลิตอีกมายที่ได้รับ Logo MFI เช่นกัน เพื่อทำให้เรามั่นใจได้ว่า หัวชาร์จ และสายชาร์จที่เราใช้งานอยู่นั้นมีมาตรฐานดี สามารถใช้งานร่วมกันได้ หลายแบรนด์ผู้ผลิตอย่าง Belkin, Nomad และ Anker ก็ถือได้ว่าเป็นแบรนด์ที่มีมาตรฐานดี ทำให้เราใช้งานได้อย่างไม่มีปัญหาครับ โดยวิธีการเลือกซื้อหัวชาร์จดี ที่จะทำให้เราเลือกซื้อได้ง่ายขึ้น มีดังนี้
- ปริมาณไฟขาเข้า อะแดปเตอร์ส่วนมากจะมาพร้อมกับปริมาณไฟขาเข้าที่แตกต่างกัน ถึงแม้ว่าหัวชาร์จที่ออกมาใหม่ ๆ จะมีเทคโนโลยีใหม่เข้ามาด้วย ส่วนมากจะมาพร้อม Smart Charger ที่เป็นชิปอัจฉริยะที่จะช่วยจ่ายไฟได้ตรงตามอุปกรณ์ที่เรานำมาชาร์จ ซึ่งหากว่าเรานำหัวชาร์จที่ซื้อจากต่างประเทศส่วนใหญ่แล้วจะมีปริมาณไฟขาเข้าที่ไม่รองรับการใช้งานในไทย ดังนั้นไม่แนะนำให้เลือกใช้งานไม่อย่างนั้นอาจจะสร้างความเสียหายให้ทั้งหัวชาร์จ และสายชาร์จครับ
- ปริมาณไฟขาออก ต่อมาให้ดูที่ปริมาณไฟขาออก ว่าหัวชาร์จนี้ สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าเท่าไหร่ เพียงพอ และเหมาะสมกับตัวเครื่องที่เราใช้งานอยู่หรือไม่ กระแสไฟฟ้าขาออกดูง่าย ๆ คือ W และ A ของตัวอะแดปเตอร์ โดยหัวชาร์จสามร์ทโฟนทั่วไป จะเริ่มต้นที่ 5W ไปจนถึง 20W สำหรับหัวชาร์จเร็ว (Fast Charger) หรือปัจจุบันนี้มีมากกว่านั้น และสิ่งที่เราต้องเลือกใช้งานให้ สัมพันธ์กัน นั้นก็คือ สายชาร์จของเรา ถ้าเราใช้สาย 2.1 A หัวชาร์จก็ควรเป็น 2.1 A เพื่อที่ว่า จะได้ชาร์จใช้งานได้อย่างมีประสิทธภาพ
- สัญลักษณ์ Certified สุดท้ายคือ สัญลักษณ์ Certified ไม่ว่าจะเป็น MFI, UL, IEC, FCC, CE และ RoHS เป็นต้น เพื่อเป็นหลักฐานว่า อุปกรณ์เสริมของเราได้ผ่านการทดสอบต่าง ๆ ได้รับมาตรฐานดี เพื่อทำให้ผู้บริโภคอย่างเราแน่ใจได้ว่า ใช้งานแล้วจะปลอดภัย และไม่เกิดปัญหาขึ้นครับ
สัญลักษณ์ Certified มีอะไรบ้าง?
1.CE
European Conformity เดิมทีใช้เครื่องหมาย EC แต่ภายหลังได้เปลี่ยนเป็นเครื่องหมาย CE เมื่อปี 2536 เครื่องหมาย CE มักจะปรากฏอยู่บนสินค้า เครื่องหมายที่แสดงการรับรองจากผู้ผลิต Manufacturer’s Declaration ว่าสินค้านั้นมีคุณสมบัติตามข้อกำหนดด้านสุขภาพ ด้านความปลอดภัย และการคุ้มครองจากสิ่งแวดล้อม ตามกฎหมาย และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องของสหภาพยุโรป สัญลักษณ์ CE มีความจำเป็นอย่างมาก เพราะหากว่าเราต้องการที่จะส่งสินค้าออกจำหน่ายในกลุ่มประเทศ EU และ EFTA เราต้องมีสัญลักษณ์นี้เท่านั้น ซึ่งจะมีผลิตภัณฑ์อยู่ 20 กลุ่ม ทำให้สมาชิกแต่ละประเทศจะกำหนด การออกกฎหมายภายในประเทศให้สอดคล้องกับกฎระเบียบของสหภาพยุโรป หรือ EC Directives ที่ เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องหมาย CE
2.FCC
FCC Certificate หรือ FCC ย่อมาจาก Federal Communications Commission เดิมเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลกิจการเกี่ยวกับการสื่อสาร และโทรคมนาคมของสหรัฐ ฯ หรือคณะกรรมการกลางกำกับดูแลกิจการสื่อสาร องค์กรนี้เป็นตัวแทนรัฐบาลสหรัฐฯ วางระเบียบให้แก่อุปกรณ์ประเภทวิทยุ โทรทัศน์ ผู้ให้บริการการสื่อสารระหว่างรัฐ และงานให้บริการระหว่างประเทศที่อยู่ในสหรัฐฯ แต่ปัจจุบันมีหน้าที่รับผิดชอบให้การรับรองผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ และผลิตภัณฑ์ในการสื่อสารทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น โทรทัศน์ สมาร์ทโฟน กล้องดิจิทัล อุปกรณ์ไร้สายบูทธู และวิทยุ เป็นต้น มาตรฐานของ FCC ไม่ได้เป็นตัวกำหนดคุณภาพของสินค้า แต่ใช้เพื่อยืนยันว่าสินค้านั้นผ่านข้อจำกัดด้านความปลอดภัยจากการใช้อุปกรณ์สื่อสารทุกประเภท หากมีการทดสอบแล้วว่าอุปกรณ์เหล่านี้มีความปลอดภัยทผ่านเกณฑ์ได้มาตรฐาน และไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ ก็จะได้รับมาตรฐาน FCC Certification
3.UL
UL ย่อมาจาก Underwriter Laboratories องค์กรไม่แสวงผลกำไร ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1894 ได้รับความเชื่อถือให้เป็นผู้กำหนดมาตรฐานในการผลิตสินค้าของอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะ เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือทางการแพทย์ เครื่องจักรในอุตสาหกรรม และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อย่างสายไฟฟ้า เป็นต้น ULมุ่งเน้นเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยเป็นหลัก ทำให้สภาพแวดล้อมการทำงานปลอดภัยมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการรับรองสายชาร์จไฟนี้ มีขนาดที่ถูกต้องพอเหมาะหรือไม่ รองรับกระแสไฟได้ตรงตามตามมาตรฐานหรือเปล่า เพื่อให้มั่นใจว่าผู้บริโภคจะได้รับความปลอดภัยสูงสุด สินค้าที่ได้รับมาตรฐานนี้ พร้อมเลขทะเบียน UL ระบุอยู่บนตัวสินค้า เป็นเครื่องยืนยันว่า สินค้ามีความปลอดภัย และได้รับการยอมรับในระดับสากลได้รับความเชื่อมั่น ทั้งจากผู้บริโภค และผู้ผลิตเข้าใจง่าย ๆ คือ สัญลักษณ์แห่งความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ในระดับโลก
4.RoHS
RoHS Certification หรือ RoHS ย่อมาจาก Restriction of Certain Hazardous Substances มาตรฐานของสหภาพยุโรปเเกี่ยวเนื่องเฉพาะด้านการใช้สารอันตรายในผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด มาตรฐานของ RoHS ใช้กำหนดค่าสูงสุดของสารต่าง ๆ โดยสารที่จำกัดปริมาณในปัจจุบัน กำหนดไว้ 6 ชนิด ที่มีต่อเครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าพวกเครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ จำเป็นต้องใช้สารเหล่านี้ จึงต้องได้รับมาตรฐาน RoHS เพื่อที่จะได้รู้ว่า มีการใช้ในปริมาณที่เหมาะสมหรือไม่ เพื่อไม่ให้เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค รวมถึงสิ่งแวดล้อม RoHS มีผลบังคับใช้โดยตรงในบางประเทศ รวมถึงในสหภาพยุโรปทั้งหมด สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเกือบทุกชนิดที่ไม่ผ่านใบรับรองมาตรฐาน RoHS ก็ไม่สามารถนำมาจำหน่ายได้ ถือได้ว่าเป็นมาตรฐานที่มีความสำคัญอย่างมากเลยทีเดียว
สรุปสั้น ๆ ก็คือ ก่อนการเลือกซื้อหัวชาร์จทุกครั้ง เราควรเลือกซื้อสินค้าที่ผ่านมาตรฐานสินค้า Ce Fcc และ RoHs เท่านั้น เพื่อที่จะทำให้เราแน่ใจได้ว่าหัวชาร์จมาตรฐานดี ทำให้เราใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เกิดปัญหา พร้อมทั้งยังช่วยให้เราอุ่นใจได้ว่ามีความปลอดภัยอย่างแน่นอนครับ
ก็จบลงไปแล้วกับบทความ " เจาะลึกมาตรฐานความปลอดภัยบนหัวชาร์จที่ทุกคนควรรู้ " ที่เรานำมาแนะนำในวันนี้ นอกจากนี้ยังมีวิธีการเลือกซื้อหัวชาร์จมาตรฐานดี ที่ถูกต้อง เพื่อที่จะช่วยให้ผู้ใช้งานทุกคนเข้าใจมากขึ้น ว่าหัวชาร์จ ที่เราใช้งานอยู่นั้นมีมาตรฐานความปลอดภัยอยู่จริงไหม และหัวชาร์จที่เราใช้งานอยู่นั้น มีกำลังไฟเพียงพอต่อความต้องการของสมาร์ทโฟนที่เราใช้งานอยู่หรือไม่ หากเราเข้าใจมากขึ้นถึงมาตรฐานนี้แล้ว รับรองเลยว่าเราจะสามารถเลือกใช้งานหัวชาร์จได้ถูกต้อง ส่งผลให้ชาร์จใช้งานได้อย่างดีไม่เกิดอันตรายอย่างแน่นอน ไม่ต้องคอยมาเปลี่ยนหัวชาร์จอยู่บ่อย ๆ และไม่ทำให้เสียเงินไปฟรี ๆ และ วันนี้ Mercular อยากจะมาแนะนำแบรนด์ผู้ผลิตหัวชาร์จมาตรฐานดี มีมาตรฐานความปลอดภัยอย่างแบรนด์ Apple, Belkin, Unitek, Remax, Energea, Nomad, Anker และ Aukey เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานมั่นใจได้เลยว่า แบรนด์เหล่านี้จะสามารถชาร์จใช้งานได้อย่างไม่มีปัญหา และไม่เกิดอันตรายขึ้นอย่างแน่นอนครับ