ฟองน้ำหูฟัง
ตั้งค่าการค้นหา
สำหรับ
ขนาด
วัสดุหุ้มภายนอกฟองน้ำ
วัสดุจุกหูฟัง
สินค้าแนะนำ
สินค้าใหม่
สินค้าขายดี
ราคา : ต่ำ - สูง
ราคา : สูง - ต่ำ
ส่วนลด : สูง - ต่ำ
categories.productBar.categoryTitle :
”ฟองน้ำหูฟัง”
(categories.productBar.product 34 categories.productBar.unit)
สินค้าทั้งหมดใน
“
ฟองน้ำหูฟัง
”(34 รายการ)
ทำความรู้จัก ฟองน้ำหูฟัง(Earpad)
ฟองน้ำหูฟัง(Earpad) จัดเป็นอุปกรณืเสริมหูฟังที่หลายๆ คนอาจจะมองข้ามไป แต่ในความเป็นจริงแล้ว ฟองน้ำหูฟัง(Earpad) นี้มีความสำคัญหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของความสบายเมื่อสวมใส่ การทำให้หูฟังนั้นสวมใส่ได้พอดี และยังช่วยในเรื่องของแนวเสียงให้ดีขึ้นได้อีกด้วย ซึ่งในการใช้งานจริงปฏิเสธไปไม่ได้เลยว่าตัวหูฟังหลายๆ รุ่นนั้นหากได้รับการเปลี่ยน ฟองน้ำหูฟัง(Earpad) แล้วนอกจากจะช่วยในเรื่องของการสวมใส่ที่สบายขึ้น ความถ่ายเทของอากาศและการช่วยในเรื่องของการซึมซับแรงกดทับแล้วส่วนของประสบการณ์เสียงที่ได้เสียงยังสามารถปรับเปลี่ยนไปตามการออกแบบของ ฟองน้ำหูฟัง(Earpad) ได้อีกด้วย โดยหลักๆ แล้วส่วนของฟองน้ำหูฟังนั้นจะใช้กับ หูฟังแบบ Headphone เป็นหลักได้แก่ หูฟังครอบหู Over-Ear และ หูฟังแนบหู On-Ear ซึ่งก็มีหลากหลายแบบบ หลากหลายแบรนด์ และหลากหลายจุดประสงค์การใช้งานให้เลือก ไม่ว่าจะเป็นแบบที่ทำให้สวมใส่ได้สบายหูมากขึ้น แบบที่ช่วยปรับในเรื่องของเสียงก้องภายในหู และแบบที่จะมาช่วยลด/เพิ่มเสียงเบส เสียงแหลมต่างๆ ของหูฟัง โดยทั้งหมดนั้นขึ้นอยู่กับการออกแบบของ ฟองน้ำหูฟัง(Earpad) นั้นๆ ว่าออกแบบมาให้ปรับปรุงในเรื่องใดเป็นหลักนั่นเอง
ฟองน้ำหูฟังมีกี่ประเภท
ฟองน้ำหูฟัง(Earpad) หากจะแบ่งประเภทของ ฟองน้ำหูฟัง(Earpad) ในปัจจุบันนั้นคงแบ่งได้เป็น 2 ประเภทโดยแบ่งจากการสวมใส่ของหูฟังนั่นเอง โดยแต่ละประเภทก็ยังมีส่วนประกอบและวัสดุที่แตกต่างกัน และแต่ละแบบก็จะมีจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไป รวมไปจนถึงราคาที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังมีผลในส่วนของการสวมใส่อีกด้วยโดยฟองน้ำหูฟังทั้ง 2 ประเภทแบ่งออกได้ดังนี้- 1. ฟองน้ำหูฟัง(Earpad) Over-Ear: หรือก็คือ ฟองน้ำหูฟัง(Earpad) ที่ออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับหูฟังครอบหู Over-Ear โดยจะมีขนาดที่ใหญ่กว่าอีกประเภท ด้วยความที่ต้องสวมใส่แบบครอบไปทั้งหู รวมถึงส่วนของวัสดุที่มีให้เลือกทั้งแบบปิดมิดชิด และแบบอากาศระบายผ่านได้ดี เนื่องจากในขณะที่สวมใส่นั้นจำเป็นต้องครอบไปทั้งหู ทำให้อากาศไม่ถ่ายเท และอาจจะทำให้เกิดความอับหรือทำให้หูเกิดอาการร้อนได้
- 2. ฟองน้ำหูฟัง(Earpad) On-Ear: แบบที่ 2 คือ ฟองน้ำหูฟัง(Earpad) สำหรับหูฟังแนบหูที่แน่นอนว่าจะมีขนาดที่เล็กกว่าเนื่องจากการสวมใส่ที่ไม่ได้ครอบไปทั้งหู แต่จะเป็นแนบกับหูทำให้ส่วนมากจะเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับผิวหนัง ซึมซับแรงกดทับได้ดี แต่จะไม่ค่อยเน้นในเรื่องของการระบายอากาศเนื่องจากจุดเด่นของหูฟังประเภทนี้คือการสวมใส่ได้สบายหูและไม่ต้องครอบไปทั้งหมดนั่นเอง
วัสดุภายในของฟองน้ำหูฟัง
ฟองน้ำหูฟัง (Earpad) ในปัจจุบันนั้นมีหลากหลายวัสดุให้ได้เลือกซื้อและเลือกเปลี่ยน ทั้งจากที่แถมมากับหูฟังเองด้วยนั้น ยิ่งหูฟังราคาแพง ฟองน้ำหูฟัง (Earpad) ก็ยิ่งมีคุณภาพดีและเลือกใช้วัสดุพรีเมียมตามราคา และ ฟองน้ำหูฟัง จากแบรนด์ดังที่ยิ่งราคาสูงก็ยิ่งช่วยอย่างครบถ้วนทั้งเรื่องเสียงและความสบายในการสวมใส่ไปในเวลาเดียวกัน โดยหลักๆ ก่อนจะไปดูวัสดุของ ฟองน้ำหูฟัง นั้นเราสามารถแบ่งชนิดของ ฟองน้ำหูฟัง ได้เป็น 2 ประเภท ประกอบไปด้วย ชนิดฟองน้ำล้วนๆ ไม่มีวัสดุหุ้ม ซึ่งด้วยความที่เป็นฟองน้ำล้วนๆ นั้นจึงทำให้การสวมใส่สบายหู และมีราคาที่ไม่แพงเพราะใช้วัสดุไม่เยอะ โดยวัสดุฟองน้ำก็ยังแบ่งออกได้อีกดังนี้- 1. ฟองน้ำ: วัสดุพื้นฐานของ ฟองน้ำหูฟัง (Earpad) ข้อดีคือราคาถูก แต่ก็มีข้อควรระวังคือจะค้อนข้างแข็งและหากต้องการให้นิ่มใส่สบายขึ้นก็จะต้องใช้ปริมาณฟองน้ำจำนวนมาก ซึ่งจะทำให้ ฟองน้ำหูฟัง (Earpad) หนาขึ้นโดยไม่จำเป็น
- 2. Memory Foam: ฟองน้ำหูฟัง (Earpad) ที่จะช่วยในเรื่องของการสวมใส่ให้สบาย รวมถึงบล็อคเสียงจากภายนอกให้เงียบสนิทมากยิ่งขึ้น ด้วยความสามารถที่เป็นเอกลักษณ์ของเมโมรี่โฟมที่สามารถดูดซับแรงกดทับได้เป็นอย่างดีรวมถึงยังสามารถคืนรูปได้เร็วอีกด้วย ทำให้เมื่อสวมใส่เข้าไปแล้วจะให้ความรู้สึกสบายไม่ถูกบีบศีรษะ รวมถึงไม่ทำให้ ฟองน้ำหูฟัง (Earpad) หนาจนเกินไป
และจากชนิดหูฟังแบบ ฟองน้ำหูฟังที่มีวัสดุหุ้ม นั้นยังสามารถแบ่งวัสดุหุ้มออกไปได้อีกหลายประเภท โดยแต่ละประเภทก็มีจุดเด่นที่แตกต่างกัน เช่นการสวมใส่ที่ให้ความรู้สึกที่สบายหูต่างกัน ราคาที่ต่างกัน และการระบายที่ต่างกันอีกด้วย ซึ่งทั้งหมดนั้นแบ่งออกได้ดังนี้
- 1. หนัง: เรียกได้ว่าเป็นวัสดุที่เป็นอมตะ ได้รับความนิยมไม่มีเสื่อมคลาย โดยมีทั้งแบบหนังเทียมที่ราคาต่ำกว่าแต่ก็มีความทนทานน้อยกว่าเช่นกัน และหนังแท้ที่แม้ราคาจะสูงกว่ามทากแต่ด้านความทนทานและคลาสสิคต้องบอกเลยว่าเหนือกว่าวัสดุประเภทอื่นเป็นอย่างมาก โดยวัสดุประเภทหนังนั้นมีข้อดีคือจะช่วยกันเสียงได้เป็นอย่างดี แต่ในเวลาเดียวกันก็อาจจะถ่ายเทอากาศได้น้อยกว่าประเภทอื่นๆ ด้วย
- 2. ผ้ากำมะหยี่: เรียกได้ว่าเป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมสูงและถูกเลือกใช้ทั้งกับหูฟังหลากหลายราคาตั้งแต่ราคาระดับพรีเมียมไฮเอนด์ ไปจนถึงระดับราคาเป็นมิตร ด้วยจุดเด่นคือพื้นผิวสัมผัสที่นุ่มสบายหู ระบายอากาศได้ดี แต่ก็มาพร้อมข้อควรระวังคือปิดกันเสียงจากภายนอกได้ไม่ดีเท่าที่ควร รวมถึงด้วยความที่เป็นผ้าหากใช้งานไปนานก็อาจเกิดปัญหาเรื่องกลิ่นอับหรือแบคทีเรียได้
- 3. Alcantara: เป็นวัสดุสังเคราะห์ที่ให้พื้นผิวสัมผัสและจุดเด่นแบบเดียวกับผ้ากำมะหยี่ มีความทนทานสุง ทำความสะอาดง่าย แต่ในขณะเดียวกันก็มีราคาที่าสูงกว่า รวมถึงมักะถูกเลือกใช้ในสินค้าหูฟังราคาสูงอีกด้วย
- 4. วัสดุผสมผสาน Hybrid: เป็นวัสดุที่รวมรวมจุดเด่นของวัสดุทุกประเภทและดึงเอาข้อดีมาทดแทนข้อด้อยของแต่ละประเภทออกไป ทำให้เป็นวัสดุอีกประเภทที่นิยมถูกนำมาใช้งาน เพราะนอกจากจะสวมใส่ได้สบายหูแล้วเรื่องของการระบายอากาศก็ยังทำได้ดี รวมถึงยังสามารถปิดกั้นเสียงจากภายนอกได้ดีในเวลาเดียวกัน
แนะนำฟองน้ำหูฟังยอดนิยม
ต้องยอมรับว่า ฟองน้ำหูฟัง นั้นเป็นอุปกรณ์เสริมหูฟังอีกชนิดที่มีความสำคัญ โดยเฉพาะกับนักฟังเพลงที่ชื่นชอบการปรับเปลี่ยนและอัพเกรดหูฟังเดิมๆ ให้มีความสามารถและทำอะไรได้มากขึ้น ทั้งเปลี่ยนแนวเสียง ช่วยในเรื่องการสวมใส่ รวมถึงต้องยอมรับเลยว่า ฟองน้ำหูฟัง เป็นอีกสิ่งที่ขาดไปไม่ได้เลยจากหูฟังเพราะถ้าหากชำรุดหรือหบลุดขาดก็จำเป็นที่จะต้องหาอันใหม่มาเปลี่ยน เพราะเราไม่สามารถใส่หูฟังได้โดยไม่มี ฟองน้ำหูฟัง เพราะตัวยหูฟังจะทำให้ระคายหูรวมถึงเสียงที่ได้ก็จะไม่ดีเท่าที่ควรอีกด้วย และหากกำลังมองหา ฟองน้ำหูฟัง ดีๆ คุ้มราคาสักรุ่น ทาง Mercular.com มีฟองน้ำหูฟังยอดนิยมมาแนะนำกันดังนี้ฟองน้ำหูฟัง Focal Utopia Ear Pads
ฟองน้ำหูฟัง X-Tips XT212 Marshall III
ฟองน้ำหูฟัง X-Tips XT89 for Sennheiser HD500
ฟองน้ำหูฟัง X-Tips XT88 for Sennheiser Urbanite
ฟองน้ำหูฟัง X-Tips XT83 for Sennheiser MOMENTUM
ฟองน้ำหูฟัง X-Tips XT178 for SONY MDR-X950BT
ฟองน้ำหูฟัง Beyerdynamic EPL Ear cushions
จุกหูฟังสำคัญอย่างไร
อุปกรณ์เสริมหูฟัง ฟองน้ำหูฟัง / จุกใส่หูฟัง นั้นเป็น อุปกรณ์เสริมหูฟัง ที่หลายๆ คนอาจจะไม่คิดว่าอุปกรณ์เล็กๆ หรือส่วนประกอบของหูฟังเล็กๆ นี้จะช่วยในเรื่องของเสียงให้ยอดเยี่ยมขึ้นกว่าเดิมได้ ซึ่งในการใช้งานจริงปฏิเสธไปไม่ได้เลยว่าตัวหูฟังนั้นหากได้รับการเปลี่ยนจุกแล้วนอกจากช่วยในเรื่องการสวมใส่ที่สบายขึ้นตามการออกแบบที่คิดค้นมาโดยเฉพาะของรุ่นนั้นๆ แล้ว ด้านของเรื่องเสียงก็ยังจะเปลี่นไปตามการออกแบบของจุกอีกด้วย ด้านการใช้งานนั้นส่วนของ จุกหูฟัง นั้นออกแบบมาสำหรับใช้งานกับ หูฟัง In-Ear และ Earbud แทนที่ของเดิมที่ในหูฟังรุ่นนั้นๆ แถมมาให้โดยเมื่อเปลี่ยนจากของเดิมมาใช้ตัวใหม่ที่เป็นอุปกรณ์เสริม ก็จะทำให้ตัวหูฟังขับเสียงย่านต่างๆ ได้ดีขึ้นตามแต่การออกแบบของ Eartip รุ่นนั้นๆ ออกแบบมาอีกด้วย นั่นจึงทำให้ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ฟองน้ำหูฟัง / จุกใส่หูฟัง มีความสำคัญสำหรับคนที่โฟกัสในเรื่องของแนวเสียงที่ยอดเยี่ยม โดยเฉพาะเหล่านักฟังเพลงต่างๆ
จุกหูฟังมีกี่ประเภท
หากจะแบ่งประเภท Eartip ในปัจจุบัน ก็คงจะแบ่งออกได้ราวๆ 4 ประเภทด้วยกัน ทั้งนี้แต่ละประเภทก็ช่วยในเรื่องของการสวมใส่ที่สบายช่องหูมากขึ้น รวมถึงช่วยในเรื่องของแนวเสียงให้ทำได้ดีและยอดเยี่ยมขึ้นอีกด้วย โดยเฉพาะในบางรุ่นนั้นสามารถเปลี่ยนแนวเสียงของหูฟังที่มีอยู่ให้เปลี่ยนไปเหมือนได้หูฟังใหม่เลยทีเดียว โดยทั้ง 4 ประเภทนั้นแบ่งออกได้ดังนี้1. จุกซิลิโคน : หรือจุกพื้นฐานที่เหล่าบรรดาหูฟัง In-Ear นั้นเลือกใช้ ข้อดีของจุกประเภทนี้คือวัสดุที่เป็นซิลิโคนที่อ่อนโยนต่อช่องหู สวมใส่แล้วไม่ทำให้ระคายเคือง นัดเข้าถอดออกง่าย และคืนรูปได้ง่ายหากไม่ถูกทับหรือบีบให้ผิดรูปเป็นระยะเวลานาน รวมถึงยังสามารถปรับแต่งได้ง่ายทั้งการออกแบบด้านในให้เป็นเกลียวคลื่นในบางรุ่น, การออกแบบให้มีปุ่มๆ หรือจุดๆ ด้านใน ไปจนถึงออกแบบให้ซิลิโคนภายในมีหลายชั้น ซึ่งทั้งหมดนี่ก็เพื่อการปรับปรุงแนวเสียงให้แตกต่างออกไปจากเดิม โดยที่เป็นเทคโนโลยีจากแบรนด์ต่างๆ นั่นเอง จุกหูฟังซิลิโคนรุ่นแนะนำได้แก่ 2. จุกเมโมรี่โฟม : จุกประเภทที่ 2 ที่จะช่วยในเรื่องของการสวมใส่ให้สบาย แน่น และกระชับหู รวมถึงบล็อคเสียงจากภายนอกให้เงียบสนิทมากยิ่งขึ้น ด้วยความสามารถที่เป็นเอกลักษณ์ของจุกเมโมรี่โฟมที่สามารถดูดซับแรงกดทับได้เป็นอย่างดีรวมถึงยังสามารถคืนรูปได้เร็วอีกด้วย ทำให้เมื่อสวมใส่จุกเมโมรี่โฟมเข้าไปแล้วจะให้ความรู้สึกเหมือนใส่ Earplug อุดหู และยังช่วยป้องกันจากเสียงนอกรูหูได้ดีกว่าจุกซิลิโคนอีกด้วย จุกหูฟังเมมโมรี่โฟมรุ่นแนะนำได้แก่
- จุกหูฟัง Comply Foam T100
- จุกหูฟัง FiiO HS17 Memory foam
- จุกหูฟัง KZ Acoustics Memory Foam in-ear Eartip (3 Packs)
3. จุกโฟมโพลียูรีเทน : จุกประเภทใหม่ล่าสุดที่เป็นเทคโนโลยีจากทาง Sony เปิดตัวครั้งแรกในหูฟัง True Wireless รุ่น Sony WF-1000XM4 ที่มีคุณสมบัติแบบเดียวกับ จุกเมโมรี่โฟม สามารถซึมซับแรงกดทับได้เป็นอย่างดี และคืนรูปได้อย่างรวดเร็ว และยังมีผิวสัมผัสที่นุ่มนวลอีกด้วย จุดเด่นคือเมื่อสวมใส่เข้าไปในหู จุกจะคืนรูปจนอุดช่องหูทั้งหมด ทำให้ช่วยปผ้องกันเสียงรบกวนจากภายนอกได้เป็นอย่างดี ทำให้เหมาะกับการใช้งานกับ หูฟังตัดเสียงรบกวน เป็นหลัก จุกหูฟังโพลียูรีเทนรุ่นแนะนำได้แก่
4. จุกหูฟังฟองน้ำ Earbud : แม้หูฟัง Earbud รุ่นใหม่ๆ จะมาพร้อมการออกแบบท่อเสียงให้ใกล้หูมากขึ้นและใส่ได้สบายหูมากขึ้น แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ายังมีอีกหลายรุ่นที่ยังคงเลือกใช้รูปทรงต้นฉบับที่ไม่ค่อยเป็นมิตรกับช่องหูเท่าไหร่นัก รวมถึงด้วยตัววัสดุหูฟังแข็งเมื่อกระทบกับช่องหูก็อาจทำให้รู้สึกระคายได้ ดังนั้น ฟองน้ำ Earbud จึงยังจำเป็นทั้งในเรื่องการช่วยให้สวมใส่ได้สบายหูมากขึ้น รวมถึงในบางรุ่นยังสามารถเพิ่มเบสที่เป็นจุดอ่อนของหูฟัง Earbud ให้หนักและลงได้ลึกมากขึ้นอีกด้วย
แนะนำจุกหูฟังแบรนด์ยอดนิยม
หากคุณเป็นผู้ใช้งานหูฟัง In-Ear ที่อยากจะลองปรับเปลี่ยนจุกหูฟังทั้งสำหรับการสวมใส่ที่สบายขึ้น ของเก่าชำรุด หรือมีกลิ่นอับจนต้องเปลี่ยน ไปจนถึงอยากลองแนวเสียงใหม่ๆ ที่จุกใส่หูฟังรุ่นทางเลือกจะให้ได้ ในปัจจุบันมีแบรนด์หูฟังมากมายที่ผลิตจุกใส่หูฟังมาทั้งเพื่อสำหรับเปลี่ยนให้รุ่นของตนเอง และเพื่อเปลี่ยนให้รุ่นอื่นๆ โดยมีแบรนด์ยอดนิยมดังนี้Comply Foam
Comply Foam เป็นผู้นำด้านจุกหูฟังอันดับต้นๆ ของโลก ก่อตั้งในปี 1990 โดยนักชีวเคมีและนักประดิษฐ์ Robert Oliveira จุกหูฟังของ Comply Foam โดดเด่นด้วยเทคโนโลยีที่เป็นเอกสิทธิ์เฉพาะอย่างเมมโมรี่โฟม Viscoelastic มีจุดเด่นที่การสวมใส่สบายรับกับช่องหูและตอบสนองต่ออุณหภูมิของร่างกายเพื่อให้สวมใส่ได้พอดี นุ่มและให้การยึดเกาะดีกว่าซิลิโคน ทั้งยังปิดกั้นเสียงรบกวนจากภายนอกที่ไม่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ จุกหูฟังของ Comply Foam มีมากมายหลายรุ่นหลายซีรีส์ทั้งแบบ universal ใช้กับหูฟังทั่วไปและแบบทำออกมาเพื่อใช้งานกับหูฟังเฉพาะรุ่น ซึ่งมีรองรับหูฟังดังๆ หลายแบรนด์ รุ่นแนะนำได้แก่Ostry
แบรนด์หูฟัง Earbud ชื่อดังจากจีนแผ่นดินใหญ่อย่าง Ostry ก็ทำจุกหูฟังเช่นเดียวกันโดยเป็นจุกซิลิโคนประสิทธิภาพสูง ให้การสวมใส่ที่กระชับ ใส่สบาย และปิดกั้นเสียงรบกวนภายนอกที่ไม่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ มาพร้อมวัสดุที่ทนทาน กันน้ำแหละเหงื่อได้ดี ไม่ฉีกขาดง่าย มีให้เลือกหลายรุ่น แถมราคาไม่แพงอีกด้วย เหมาะสำหรับเอาไว้อัพเกรดหูฟัง In Ear ตัวเก่งของเราให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น จุกหูฟัง Ostry รุ่นแนะนำได้แก่Acoustune
Acoustune เป็นแบรนด์หูฟังชื่อดังจากประเทศญี่ปุ่น หูฟังแบรนด์นี้ว่าเทพแล้ว จุกหูฟังก็เทพไม่แพ้กัน โดยทางแบรนด์มุ่งพัฒนาจุกหูฟังเพื่อเน้นการอัพเกรดคุณภาพเสียงให้ดียิ่งขึ้นด้วยการออกแบบที่ล้ำลึกและพิถีพิถันทุกรายละเอียด ตอบสนองความถี่เสียงได้ดียิ่งขึ้น ทั้งยังดีไซน์สวย สวมใส่สบาย มีความทนทาน ใช้งานได้ยาวนานไม่ปวดหู รวมถึงรองรับการใช้งานได้กับหูฟังประเภท In Ear ทุกรุ่นทุกแบรนด์ได้เป็นอย่างดี จุกหูฟัง Acoustune รุ่นแนะนำได้แก่X-tips
X-tips เป็นแบรนด์ชั้นนำที่เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ด้านจุกหูฟังมาอย่างยาวนาน เป็นแบรนด์แรกๆ ที่คนเล่นหูฟังนึกถึงหากต้องการอัพเกรดจุกหูฟัง จุดเด่นของสินค้าแบรนด์นี้คือมีให้เลือกหลายรุ่น หลายซีรีส์ หลายรูปทรง ครอบคลุมทั้ง Earbud และ In Ear มีวัสดุหลายแบบให้เลือกใช้ เช่น ซิลิโคน เมมโมรีโฟม โพลียูริเทน มาพร้อมกับดีไซน์ที่สวยงาม ทนทาน ใช้งานได้ยาว ทั้งยังมีคุณสมบัติที่ช่วยเสริมให้เสียงหูฟังดีขึ้นและยังปิดกั้นเสียงรบกวนภายนอกได้ดี ที่สำคัญคือราคาไม่แพงอีกด้วย คุ้มค่ามากๆ จุกหูฟัง X-tips รุ่นแนะนำได้แก่คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับจุกหูฟัง
ด้วยตัวเลือกที่หลากหลายในท้องตลาด เชื่อว่าคนที่กำลังมองหาจุกหูฟังมาใช้งานกับหูฟังตัวเก่งของตัวเองอยู่ต้องมีคำถามเกิดขึ้นมากมายแน่ๆ Mercular.com รวบรวมทุกคำถามมาไว้ที่นี่แล้วครับคุ้มหรือไม่ที่จะต้องซื้อ Eartip ราคาสูง?
สำหรับราคาของ จุกหูฟัง นั้นถ้ามาจากแบรนด์ที่มีชื่อเสียงด้านหูฟังเครื่องเสียง ไม่ใช่จากตลาดนัด ปกติก็จะมีราคาพอประมาณหรือราวๆ 200 - 300 ขึ้นไป ทั้งนี้ด้วยเทคโนโลยีที่แต่ละแบรนด์ต่างผลิต คิดค้น และพัฒนามาเพื่อปรับปรุงแนวเสียงโดยเฉพาะก็ทำให้ราคาของ Eartip แต่ละชนิดสูงขึ้นไปด้วยนั่นเอง รวมถึงส่วนของวัสดุจุกใส่หูฟังที่เป็นเรื่องปกติที่วัสดุคุณภาพดีก็ย่อมมาพร้อมกราคาที่สูงขึ้น แต่ราคาที่เสียไปก็แลกมากับความสบายในการสวมใส่นั่นเองดังนั้นหากให้ตอบว่า คุ้มหรือไม่ที่จะต้องซื้อจุกใส่หูฟังราคาสูง?ถ้ามองหาจุกซิลิโคนสำหรับเปลี่ยนแทนของเก่าที่เสียหายหรือสูญหาย ไม่ได้สนใจเรื่องความสบายหรือแนวเสียงก็ตอบได้ว่าไม่คุ้ม แต่หากมองหาความสะดวกสบายที่ไม่เหมือนเดิมที่จะทำให้สวมใส่หูฟังได้นานขึ้น และแนวเสียงที่ยอดเยี่ยมขึ้นจนอาจะให้ความรู้สึกเหมือนเปลี่ยนหูฟังใหม่ ก็ต้องบอกเลยว่าคุ้มค่าที่จะเปลี่ยนแน่นอน
ถ้าจุกหูฟังชำรุดเรายังสามารถใช้งานได้หรือไม่?
ถ้าสำหรับ หูฟัง In-Ear และ Earbud มี Eartip เป็นส่วนที่สัมผัสกับหูผู้ใช้งานอยู่ตลอดแล้ว ในฝั่งของ หูฟังครอบหู Over-Ear และ On-Ear นั้นก็ต้องบอกว่าเป็นส่วนของ Earpad หรือที่เรียกว่า ฟองน้ำหูฟัง ซึ่งทำหน้าที่ไม่ต่างกัน เพราะฟองน้ำนั้นจะเป็นส่วนที่คั้นระหว่างตัวหูฟังกับหูของผู้ใช้งาน ฟองน้ำที่ดีจึงควรที่จะมีการออกแบบให้เข้ารูปกับหูผู้สวมใส่ รวมถึงไม่บีบรัดจนเกินไป จนทำให้ใช้งานไปแล้วเกิดอาหารปวดหู แต่ก็มีบางรุ่นที่พัฒนามาเป็นพิเศษที่ผู้ผลิตกล่าวไว้ว่าช่วยปรับปรุงในเรื่องเสียงไ้ด้ด้วยเช่นกันแต่นั่นก็ยังไม่ใช่จุดประสงค์หลัก เพราะจุดประสงค์หลักจริงๆ จะเป็นเรื่องของการสวมใส่เสียมากกว่าตามที่กล่าวเอาไว้ในช่วงต้น ดังนั้นเมื่อจุกใส่หูฟังขาดหรือชำรุดก็ต้องดูระดับก่อนว่าอยู่ในระดับไหน ถ้าขาดหรือชำรุดเล็กน้อยหรือขาดบางส่วน แต่ส่วนอื่นยังคงติดอยู่ไม่หลุดออกมาทั้งยวง ก็สามารถสวมใส่ได้โดยต้องแน่ใจว่าจุกหูฟังจะไม่ทำให้ระคายเคืองต่อผิว แต่ถ้าหากการเลือกซื้อจุกใส่หูฟังอันใหม่ดีๆสักตัวไม่ได้เป็นอะไรที่ยากลำบากเกินไป ทีมงาน Mercular.com ก็อยากแนะนำให้เลือกซื้อ Eartip อันใหม่ไปเลยเสียดีกว่า
เราสามารถเปลี่ยนจุกหูฟังด้วยตัวเองได้หรือไม่?
สำหรับคำตอบนี้ก็ตอบได้ว่า ทั้งได้และไม่ได้หากไม่มีความระมัดระวังมากพอ สำหรับคำตอบที่บอกว่าได้นั้นเป็นคำตอบสำหรับหูฟัง In-Ear ดีไซน์ปกติที่ออกแบบมาให้ผู้ใช้งานสามารถถอดเปลี่ยนได้เองหรือมีขั้นตอนการถอดเปลี่ยนที่ไม่ยุ่งยาก ไม่ซับซ้อน รวมถึงหูฟัง Earbud บางรุ่นที่ออกแบบมาให้การถอดเปลี่ยนEartip ฟองน้ำได้ง่ายเป็นต้น แต่หากเป็นหูฟังทรง In-Ear บางประเภทที่ออกแบบรูปทรง สรีระของหูฟังที่ไม่เหมือนปกติทั่วไป การถอดเข้า-ออกของจุกใส่หูฟังอาจทำได้ยากและต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษอาทิ หูฟัง Airpods Pro หรือหูฟัง In-Ear มีสายบางรุ่นที่สามารถถอดท่อนำเสียงออกมาได้ ก็ควรต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษเช่นกัน เพื่อไม่ให้ท่อนำเสียงของหูฟังนั้นเกิดความเสียหาย ดังนั้นถ้าเป็นคำถามจากข้างต้นที่ว่า เราสามารถเปลี่ยนจุกหูฟังด้วยตัวเองได้หรือไม่ ผู้เขียนก็ขอตอบได้เลยว่า สามารถทำได้เอง แต่ควรใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษครับ
นอกจากการเปลี่ยนจุกหูฟังจะช่วยให้สวยงามแล้วยังช่วยเรื่องเสียงอีกด้วย?
แน่นอนว่าการเปลี่ยน จุกหูฟัง จากแบรนด์ทางเลือกนอกจากจะทำให้ตัวหูฟังนั้นใหม่ขึ้น มีความสวยงามมากขึ้นแล้วนั้น ในบางรุ่นยังพัฒนาในเรื่องของแนวเสียง เช่นอาจจะเพิ่มความหนา ความยืดหยุ่นของเสียงภายใน หรือเลือกใช้เมมโมรี่โฟมที่กันเสียงได้ดี ไปจนถึงการออกแบบท่อขับเสียงต่างๆเพื่อช่วยในเรื่องการส่งสัญญาณเสียงให้ดีขึ้นและเปลี่ยนไปจากเดิม ดังนั้นคำพูดที่ว่า นอกจากการเปลี่ยนจุกใส่หูฟังจะช่วยให้สวยงามแล้ว ยังช่วยเรื่องเสียงอีกด้วย สำหรับคนที่เป็นนักฟังเพลงและชื่นชอบการปรับเปลี่ยนและอัพเกรดหูฟังที่ได้ลองเปลี่ยน Eartip หลายๆรุ่นแล้ว จะสัมผัสได้ถึงความเปลี่ยนแปลงของเสียง ดังนั้นทีมงาน Mercular.com ก็มีความเห็นว่า ข้อความนี้เป็นความจริงบทความน่าสนใจเกี่ยวกับจุกหูฟัง
จุกหูฟังอาจจะเป็นเพียงอุปกรณ์ชิ้นเล็กๆ แต่กลับส่งผลต่อคุณภาพเสียงของหูฟังอย่างมีนัยสำคัญ สำหรับคนเล่นหูฟัง In Ear และ Earbud แล้ว เพียงรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ อย่างจุกหูฟังก็ทำให้รับรู้ถึงคุณภาพเสียงที่เปลี่ยนไปได้ จุกหูฟังคุณภาพดีช่วยให้เสียงของหูฟังดีขึ้นแบบรู้สึกได้ วัสดุจุกแบบต่างๆ ก็มีจุดเด่นต่างกันไปซึ่งล้วนส่งผลต่อคุณภาพเสียงและความสบายในขณะสวมใส่ ถ้าคุณเป็นนักเล่นหูฟังที่ซีเรียสกับรายละเอียดเสียงและต้องการคุณภาพเสียงที่ดียิ่งขึ้น การเลือกจุดหูฟังที่เหมาะสมที่สุดมาใช้ร่วมกับหูฟังของเราเป็นอีกภารกิจที่ต้องตามหาให้เจอ
เลือกซื้อจุกหูฟังแบรนด์ดังได้แล้ววันที่ที่ Mercular.com รับประกันสินค้าของแท้ ส่งฟรี ส่งไว ทั่วไทย