เคสกันกระแทก ต่างกับเคสกันรอยยังไง?
Share
25 ก.ย. 2564

เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่หลายคนยังคงสับสนกันอยู่ ระหว่างเคสกันกระแทกกับเคสกันรอย บางคนมองว่ามันเหมือนกัน เพราะเคสกันรอยก็สามารถกันกระแทกได้ ขณะที่บางคนก็บอกว่ามันแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ซึ่งความเข้าใจตรงนี้มีผลต่อการเลือกใช้งาน และมีผลต่อการป้องกันความเสียหายของสมาร์ทโฟนด้วย เราจึงต้องมาทำความเข้าใจกันใหม่ให้ถูกต้องและชัดเจนยิ่งขึ้น จะได้เลือกใช้เคสกันกระแทก หรือเคสกันรอยได้ตรงตามความต้องการจริงๆ
คุณสมบัติเด่นในเคสกันกระแทกที่ไม่มีในเคสกันรอยทั่วไป
ก่อนอื่นต้องมาแยกความแตกต่างระหว่างเคสทั้ง 2 ประเภทนี้กันก่อน โดยอ้างอิงตามชื่อเรียกที่ว่า “เคสกันกระแทก” กับ “เคสกันรอย” ชื่อนี้บ่งบอกถึงคุณสมบัติหลักที่เคสแต่ละประเภทมี ในส่วนของเคสกันรอยจะออกแบบมาเพื่อเน้นกันรอยเป็นหลัก วัสดุที่ใช้ผลิตตัวเคสจึงมีทั้งแบบแข็งและแบบนิ่ม จริงอยู่ว่าบางรุ่นสามารถกันกระแทกได้ แต่ก็รับแรงได้เพียงเบาๆ เท่านั้น ขณะที่เคสกันกระแทกจะออกแบบมาเพื่อรับแรงโดยเฉพาะ ทั้งหมดจะมีโครงสร้างเคสค่อนข้างแข็ง ไม่บิดงอ ไม่ยืดหยุ่นมากนัก สามารถรับแรงกระแทกแบบรุนแรงได้ดี เช่น รับแรงเมื่อสมาร์ทโฟนตกจากที่สูง รับแรงกระแทกจากการเหวี่ยง การโยน เป็นต้น
ทั้งเคสกันรอยและเคสกันกระแทกจึงมีคุณสมบัติคาบเกี่ยวกันอยู่บ้าง แต่มันจะมีจุดเด่นบางประการที่ช่วยให้เราแยกเคสทั้ง 2 ประเภทออกจากกันได้อย่างชัดเจน
"เคสที่เหมาะสมนั้นขึ้นอยู่กับรูปแบบของการใช้งานประจำวันเป็นหลัก"
โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้ ของเคสแบบต่างๆ
1. โครงสร้างแบบแข็ง
จุดเด่นแรกของเคสกันกระแทกก็คือ โครงสร้างเคสที่แข็งแรง วัสดุที่ใช้มักจะอยู่ในกลุ่มพลาสติกแข็ง โพลีคาร์บอเนต TPU และอลูมิเนียม หากจะมีวัสดุอ่อนนิ่มก็จะเป็นการผสมผสานกับวัสดุแข็งชนิดอื่นเท่านั้น ไม่มีการนำซิลิโคนยาง หรือหนังมาใช้แบบไม่ผ่านการเสริมความแข็งเลย ดังนั้นถ้าเราเห็นว่าเคสที่สนใจใช้วัสดุส่วนใหญ่เป็นซิลิโคนหรือเป็นวัสดุที่มีผิวสัมผัสอ่อนนิ่ม ก็ให้มั่นใจได้เลยว่านั่นเป็นเคสกันรอยไม่ใช่กันกระแทก
3. มีระบบระบายความร้อนยอดเยี่ยม
เนื่องจากเนื้อวัสดุและโครงสร้างของเคสกันกระแทกค่อนข้างหนา การระบายความร้อนจึงมีประสิทธิภาพน้อยกว่าเคสกันรอยโดยธรรมชาติ ผู้ผลิตส่วนมากที่ต้องการแก้ปัญหานี้ จึงต้องเสริมเทคโนโลยีในการระบายความร้อนเพิ่มเข้ามา อาจจะเป็นคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ หรือจะเป็นการออกแบบรูปทรงเคสที่มีช่องระบายอากาศก็ได้
2. มีการเสริมโครงสร้างพิเศษ
การเสริมโครงสร้างของเคสกันกระแทกจะมีทั้งแบบที่เสริมภายในและเสริมภายนอก การเสริมภายในจะมาในรูปแบบของการดามฝาครอบด้านหลัง เพื่อให้มันไม่โก่งงอและทนต่อแรงกระแทกในแนวราบมากขึ้น
และในส่วนของขอบด้านข้างก็จะมีการเสริมเพื่อรับแรงในแนวดิ่งด้วยเคสกันกระแทกที่เสริมภายในจะมีรูปลักษณ์ภายนอกเรียบง่าย ไม่เหมือนกับแบบที่เสริมโครงสร้างภายนอกเราจะเห็นเป็นสันขอบที่หนาขึ้นมาทั้งด้านหลังและตรงมุมทั้ง 4 ของเคส ซึ่งทั้งหมดนี้จะไม่มีในเคสกันรอย
4. ผ่านการทดสอบเฉพาะทาง
สำหรับคนที่ต้องการใช้งานเคสกันกระแทก สิ่งที่ต้องการก็คือความมั่นใจว่าเคสจะกันกระแทกได้จริง
หลายแบรนด์จึงนิยมนำเคสไปผ่านการทดสอบ เพื่อดูว่าจะรองรับแรงกระแทกได้มากน้อยแค่ไหน
และตรงนี้ก็ยังเป็นจุดขายที่ช่วยสร้างความเชื่อมั่นในลูกค้าได้ด้วย แต่ในปัจจุบันก็ยังมีการทดสอบแค่ในบางแบรนด์เท่านั้น ไม่ใช่ทุกค่ายที่วางขายในท้องตลาด
"ความน่าสนใจของเคสกันกระแทกประเภทต่างๆ"
นอกจากการแยกประเภทเคสสมาร์ทโฟนว่าจัดอยู่ในกลุ่มของการกันกระแทกหรือว่ากันรอยแล้ว ในส่วนของเคสกันกระแทกก็ยังแบ่งประเภทตามวัสดุและการออกแบบไปได้อีก โดยประเภทที่ได้รับความนิยมและใช้งานได้ง่ายจะมีอยู่ประมาณ 4 ประเภทด้วยกัน ดังนี้

1. เคสกันกระแทกระดับสูง
ส่วนมากจะเป็นเคสที่ผ่านการทดสอบมาแล้วว่าทนแรงกระแทกได้อย่างเต็มที่ โครงสร้างของเคสจะมีการออกแบบให้รับแรงได้รอบด้าน ไม่ว่าจะตกแล้วกระแทกในแนวไหนก็ไม่มีปัญหา พร้อมกับมีคุณสมบัติปกป้องทุกชิ้นส่วนของสมาร์ทโฟนได้ดี แม้แต่จุดที่อ่อนไหวอย่างผิวหน้าเลนส์ก็ยังปลอดภัย
2. เคสกันกระแทกอลูมิเนียม
ชื่อก็บอกแล้วว่าวัสดุหลักในการผลิตเคสทำจากอลูมิเนียม ซึ่งเป็นวัสดุที่มีความแข็งแรงทนทานและเป็นมันเงา จึงได้ประโยชน์ในแง่ของความสวยงามไปด้วยในตัว โครงสร้างของเคสกันกระแทกประเภทนี้ค่อนข้างแข็ง ทนต่อการบิดงอได้สูงมาก แต่ก็ยังรับแรงกระแทกได้น้อยกว่าแบบแรก ด้านในที่สัมผัสกับสมาร์ทโฟนก็จะมีวัสดุอ่อนนิ่มรองกันรอยให้ด้วย

3. เคสกันกระแทกแบบบัมพ์เปอร์
หลายคนอาจจะไม่ค่อยคุ้นเคยกับเคสประเภทนี้เท่าไร เพราะเป็นเคสที่มีเพียงแค่ขอบด้านข้างเท่านั้น ไม่มีฝาครอบทั้งด้านหน้าและด้านหลัง จึงกันรอยขีดข่วนไม่ได้เลย แต่ความพิเศษอยู่ที่การถ่วงน้ำหนักของขอบด้านข้าง เวลาตกหล่นจากที่สูง ขอบนี้จะถ่วงให้สมาร์ทโฟนพลิกองศาแล้วตกในลักษณะเอาขอบลง ไม่ว่าจะตกแรงแค่ไหนขอบก็รับแรงกระแทกไปเต็มๆ

4. เคสกันกระแทกแบบรับแรงปานกลาง
นี่เป็นเคสที่สร้างความสับสนกับเคสกันรอยมากที่สุด เพราะมีรูปลักษณ์คล้ายคลึงกัน เนื้อวัสดุที่ใช้ผลิตตัวเคสจะบางและเบากว่าเคสกันกระแทกประเภทอื่น แต่ยังมีโครงสร้างที่ค่อนข้างแข็ง
สามารถรับแรงกระแทกจากการใช้งานในชีวิตประจำวันได้ ถ้าสมาร์ทโฟนหล่นจากมือลงสู่พื้นล่างซึ่งมีระยะทางไม่ถึงเมตร เคสก็ยังป้องกันความเสียหายได้ แต่ถ้ากระแทกกับเหลี่ยมมุมอย่างเช่นขั้นบันไดแบบนี้ก็อาจมีผลกระทบให้เห็นบ้าง

"สุดท้ายแล้วทุกคนคงจะเคสที่ถูกใจอยู่ในใจเรียบร้อยแล้ว"
เมื่อดูรายละเอียดแล้ว ก็คงพอเห็นภาพว่าเคสกันกระแทกกับเคสกันรอยนั้นไม่เหมือนกันเลย ถ้าเราต้องการเคสกันรอยแต่เลือกใช้ผิดเป็นแบบกันกระแทกคงไม่เป็นไร เพราะถึงอย่างไรตัวเคสก็ป้องกันให้ได้ทั้งหมดอยู่แล้ว ในทางกลับกันถ้าเป็นคนที่มีกิจกรรมโลดโผนบ่อยครั้งและต้องพึ่งพาการป้องกันของเคสกันกระแทกให้กับสมาร์ทโฟน แต่กลับเลือกผิดเป็นเคสกันรอยแบบนี้จะเกิดความเสียหายอย่างมากเลยทีเดียว ดังนั้นก่อนตัดสินใจซื้อเคสชิ้นไหนอย่าลืมหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าพร้อมกับสอบถามคุณสมบัติการใช้งานกับผู้จำหน่ายจนกว่าจะเข้าใจ ชัดเจนทุกครั้ง เพื่อผลประโยชน์ของตัวเราเอง