วิธีเลือกซื้อหูฟัง True Wireless

11 ต.ค. 2565

วิธีเลือกซื้อหูฟัง True Wireless

วิธีเลือกซื้อหูฟัง true wireless

ในปัจจุบันด้วยความที่เทคโนโลยีพัฒนาไปไกลมาก ๆ หลาย ๆ เทคโนโลยีถูกย่อส่วนให้มีขนาดเล็กลงในขณะเดียวกันก็สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น เทคโนโลยีการเชื่อมต่อไร้สายที่ให้สัญญาณที่มีความเสถียร ระยะการเชื่อมต่อที่ไกล, เทคโนโลยีด้านเสียงที่ให้เสียงที่มีความสมจริงไม่แพ้ระบบลำโพง Home Theatre แม้จะเป็นจากไดรเวอร์เสียงที่มีขนาดเล็ก, และเทคโนโลยีด้านแบตเตอรี่ที่ใช้งานได้อย่างยาวนานมากขึ้นแม้จะมีขนาดที่เล็กลง เป็นต้น และด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยเหล่านี้เองที่ทำให้สินค้าประเภท หูฟัง ในปัจจุบันนั้นมีมากมายหลากหลายประเภทด้วยกัน แต่ที่เด่นที่สุดในยุคนี้ก็คงจะเป็นหูฟังแบบ Bluetooth ซึ่งจริงๆหูฟังที่เป็น Bluetooth นั้นมีมากมายหลายแบบมากๆ แต่วันนี้เราจะมาเจาะเฉพาะหูฟังยอดฮิตที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายอย่างหูฟัง TWS หรือที่หลาย ๆ คนเรียกว่าหูฟังแบบทรูไวเลสนั่นเอง

หูฟัง TWS คืออะไร?

หูฟัง TWS คืออะไร?


ก่อนหน้านี้หูฟังแบบ Bluetooth นั้นไม่สามารถแยกกันอย่างอิสระได้ เพราะติดที่ข้อจำกัดการส่งข้อมูลของ Bluetooth ดังนั้นในยุคก่อนๆ หูฟังที่ใช้ฟังเพลงในแบบ Bluetooth จึงมักจะเป็นหูฟังแบบ Neckband คือจะต้องมีสายเชื่อมต่อกันระหว่างหูฟังข้างซ้ายและขวาเสมอ แต่บริษัท Sennheiser เป็นบริษัทแรก ๆ ที่จุดประกายไอเดียในการทำหูฟังแบบแยกอิสระ แต่ในยุคนั้นถือว่าเป็นหูฟังที่แพงและคุณภาพยังไม่ค่อยดีนัก แต่ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นให้บริษัทต่างๆพากันคิดค้นให้มันสมบูรณ์และมีราคาถูกลง จนกระทั่งมีผู้ผลิตหูฟังชื่อ Earin และโฆษณาว่าเป็นหูฟังแยกอิสระที่เล็กที่สุดในโลกออกมา ทำให้เกิดกระแสฮือฮาขึ้นมาทันทีและนั่นก็ทำให้โลกเริ่มก้าวสู่ยุคของ True Wireless เป็นครั้งแรก จนกระทั่งการมาถึงของหูฟังที่ทุกคนรู้จักกันดีอย่าง Airpods ก็ทำให้หูฟังแบบ TWS กลายเป็นเมนสตรีมและมีอิทธิพลเหนือหูฟังชนิดมีสายที่ครองตลาดมาอย่างยาวนาน


จุดเด่นของหูฟังแบบ TWS ก็คือตัวหูฟังข้างซ้ายและข้างขวาจะเชื่อมต่อเข้าด้วยกันแบบไร้สาย รวมถึงเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์เล่นเพลงหรืออุปกรณ์ต่างๆ เช่น Smartphone แบบไร้สายด้วยเช่นกัน ทำให้เป็นที่มาของชื่อ True Wireless เพราะเป็นหูฟังไร้สายอิสระที่ปราศจากสายเชื่อมต่อระหว่างกันโดยสิ้นเชิงนั่นเอง โดยการเชื่อมต่อนั้นใช้เทคโนโลยีไร้สาย Bluetooth ตั้งแต่เวอร์ชั่นแรกๆ ที่มีระยะทางการเชื่อมต่อที่สั้นและถูกคลื่นรบกวนได้ง่าย ผ่านการพัฒนาเทคโนโลยีมาจนปัจจุบันที่มาตรฐานการเชื่อมต่อมีความเสถียรมากขึ้น สามารถเชื่อมต่อได้ไกลมากขึ้น และยังมาพร้อมความสามารถในการส่งสัญญาณเสียงไร้สายคุณภาพสูงผ่าน Codec ต่างๆ เช่น aptX ที่ให้เสียงเทียบเท่ากับ CD ไปจนถึงเสียงคุณภาพสูงระดับ Hi-Res เลยทีเดียว


ในปัจจุบันเทคโนโลยีมีการพัฒนาไปอีกขั้นและมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการส่งสัญญาณจากในยุคแรกๆ ที่จะเป็นการแบ่งเป็น หูฟังหลัก Master และหูฟังรอง Slave โดยจะใช้การส่งสัญญาณจากเครื่องเล่นเพลงไปยังหูฟังหลัก จากนั้นหูฟังหลักจึงส่งสัญญาณไปยังหูฟังรอง ทำให้มีปัญหาเรื่องสัญญาณไม่เสถียรบ้าง กระตุกบ้าง และใช้งานแยกข้างเดี่ยวไม่ได้ รวมถึงปัญหาหลักที่หนักที่สุดคือ ปัญหาการดีเลย์เมื่อรับชมภาพยนตร์และเล่นเกม ในปัจจุบันเปลี่ยนมาใช้เป็นการส่งสัญญาณแบบหูฟังหลักทั้ง 2 ข้าง ไม่ต้องยิงสัญญาณทับซ้อนกันให้วุ่นวาย ข้อดีคือช่วยให้สัญญาณมีความเสถียรไม่มีอาการหลุดหรือกระตุกแบบเมื่อก่อน ใช้งานแยกข้างได้ทั้งซ้ายและขวา และปัญหาเรื่องการดีเลย์ที่ลดไปจนแทบไม่มีดีเลย์หรือแทบไม่รู้สึกแล้ว

หูฟัง TWS มีกี่ประเภท

หูฟัง TWS มีกี่ประเภท?


หากจะแบ่งประเภทของ หูฟัง True Wireless ก็สามารถแบ่งออกได้ง่ายๆ ตามการสวมใส่ซึ่งในปัจจุบันมีให้เลือกถึง 2 ประเภท ที่ออกแบบมาให้สวมใส่ได้สบายตามความชอบของผู้ใช้งาน และอีก 1 ประเภทที่แบ่งออกมาจากลักษณะภายนอกของหูฟัง ดังนี้


1. หูฟัง True Wireless In-Ear : หรือก็คือหูฟัง True Wireless ที่สวมใส่แบบสอดเข้าไปในหู ตอบโจทย์ผู้ที่ชอบสวมใส่หูฟังที่ให้ความกระชับ แน่นหู ใส่แล้วไม่หลุดหรือเคลื่อนได้ง่าย รวมถึงให้ประสบการณ์เสียงที่ครบถ้วนทุกย่านเสียงเพราะตัวเสียงที่ได้จะไม่มีการหลุดหรือเล็ดลอดออกไปเนื่องจากการสวมใส่ที่แน่นกระชับกับหูนั่นเอง โดย หูฟัง True Wireless In-Ear มีรุ่นเด่นๆ ได้แก่ หูฟังไร้สาย Apple AirPods Pro 2 และ หูฟังไร้สาย Sony WF-1000XM4 True Wireless เป็นต้น


2. หูฟัง True Wireless Earbud : ประเภทที่ 2 ตอบโจทย์ผู้ที่กำลังมองหาหูฟังที่สวมใส่ได้สบายหู โดยไม่ต้องยัดเข้าไปภายในหูแบบ In-Ear ที่แม้จะมีเสียงเล็ดลอดออกไปนอกหูบ้างจากการสวมใส่ที่เป็นแบบแปะหู แต่เพื่อแลกกับความสะดวกสะบาย ไม่ร้อนอึดอัดหูก็ถือว่าเป็นที่ยอมรับได้ ในปัจจุบันตัวหูฟังหลายๆ รุ่นได้ถูกออกแบบมาให้สวมใส่ได้กระชับหูแม้จะไม่ต้องยัดเข้าไปในหูลึก ทำให้ใส่เคลื่อนไหวได้สะดวก ไม่เคลื่อนและหลุดง่ายๆ โดยมีรุ่นเด่น ๆ ได้แก่ หูฟังไร้สาย Apple AirPods with Charging Case (3rd Generation) เป็นต้น

หูฟัง TWS แต่ะละประเภทเหมาะกับใคร?


ด้วยความที่ หูฟัง TWS ถูกแบ่งออกมาตามการใช้งานจริงทำให้แบ่งผู้ที่เหมาะกับการใช้งานหูฟังประเภทนั้นๆ ได้ไม่ยาก โดยแบ่งผู้ใช้งานออกได้ดังนี้


1. หูฟัง True Wireless In-Ear : เหมาะกับผู้ที่มองหาหูฟังไร้สายที่ใช้การสวมใส่แบบยัดเข้าไปในหู โดยเฉพาะผู้ที่ชื่นชอบการฟังเพลงแบบครบถ้วนทุกย่านเสียง ไม่มีเสียงย่านใดย่านหนึ่งหลุดรอดออกไป รวมถึงผู้ที่ชอบหูฟังที่สวมใส่แล้วกระชับไม่หลุดหรือเคลื่อนออกจากหูง่ายๆ ตอบโจทย์ทั้งการใส่ฟังเพลงแบบเต็มคุณภาพ,​การสวมใส่ออกกำลังกายที่ต้องมีการเคลื่อนไหวเยอะๆ หรือขณะใส่วิ่งที่การขยับมากๆ อาจจะทำให้หูฟังเคลื่อนหรือหลุดออกจากหูได้ และผู้ที่มองหาหูฟังสำหรับใส่สนทนาโทรศัพท์หรือประชุมแบบไม่ต้องการให้เสียงจากภายนอกเข้ามารบกวนมากนัก ด้วยการสวมใส่ที่แน่นกระชับทำให้เสียงจากภายนอกผ่านเข้ามาได้เล็กน้อยเท่านั้น



2. หูฟัง True Wireless Earbud : เหมาะกับผู้ที่มองหา หูฟัง True Wireless ที่สวมใส่ได้เบา สบาย กระชับหู ไม่ต้องยัดเข้าไปในหูจนอาจทำให้รู้สึกอึดอัด โดยอาจจะแลกมาด้วยย่านเสียงต่างๆ ที่อาจหลุดออกไปได้บ้างซึ่งในปัจจุบันก็มีบางรุ่นที่ออกแบบมาให้แม้จะสวมใส่แบบ Earbud ก็ยังให้ประสบการณ์เสียงได้ครบถ้วนทุกย่านไม่ต่างจาก In-Ear เท่าไหร่นัก


นอกจากนี้ยังมีหูฟังที่ออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานด้านออกกำลังกายโดยเฉพาะ ซึ่งหูฟัง True Wireless แบบนี้ส่วนใหญ่มักจะเป็นหูฟังชนิด In-ear และมีความสามารถในการกันน้ำและเหงื่อได้ดี และโดยส่วนใหญ่มักจะมาพร้อมระบบตัดเสียงรบกวนภายนอก หรือ Active Noise Cancelling (ANC) เพื่อให้สามารถออกกำลังกายได้นาน ฟังเพลงสบาย โดยไม่ต้องกังวลเรื่องเสียงรบกวนจากภายนอก ซึ่งจะเหมาะกับทั้งนักออกกำลังกายและผู้ที่ชอบกิจกรรมแนว Extreme


เป็นยังไงกันบ้างครับกับ ทำความรู้จัก หูฟัง TWS คืออะไร พิเศษกว่าหูฟังทั่วไปอย่างไร? ที่นำมาแนะนำกันในครั้งนี้ จะเห็นได้เลยว่า หูฟัง TWS นั้นมาพร้อมเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย และแตกต่างจากหูฟังไร้สายธรรมดาแบบธรรมดาอย่างสิ้นเชิง ด้วยจุดเด่นอย่างการเชื่อมต่อที่ปราศจากสายโดยสิ้นเชิง ทำให้การใช้งานนั้นมีความสะดวก สามารถเคลื่อนไหวหรือหมุนตัวทำกิจกรรมอื่นๆ ขณะที่ใช้งานหูฟังได้อย่างง่ายดายโดยไม่ต้องมีสายมากวนใจ และที่สำคัญในปัจจุบันเทคโนโลยีการส่งสัญญาณไร้สายนั้นพัฒนาไปไกลจนแทบจะทัดเทียมกับการเชื่อมต่อแบบมีสายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งด้านความเสถียรในการใช้งานไปจนถึงคุณภาพของสัญญาณที่สามารถรับฟังเพลงในคุณภาพแบบ Hi-Res ได้ในรูปแบบการเชื่อมต่อแบบไร้สายและไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่ออะไรเพิ่มเติมให้วุ่นวายอีกด้วย


article-banner-1
article-banner-2